WELCOME TO BLOG MOOK CLUB.

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ทักษะการอ่านภาษาไทย

              ภาษาไทยเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ  และเพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริง

 การอ่านเป็นหนึ่งในสี่ทักษะทางภาษาที่จำเป็นต้องฝึกฝนอยู่เสมอ และไม่มีวันสิ้นสุดสามารถฝึกได้เรื่อย ๆ ตามวัยและประสบการณ์ของผู้อ่าน เพราะการอ่านนั้นจะเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้มนุษย์ได้รับความรู้ ความคิด และความบันเทิงใจ ช่วยปรับปรุงชีวิตให้สดใสสมบูรณ์ ดังคำกล่าวของ เซอร์ ฟรานซิส เบคอน นักปรัชญาเมธีชาวอังกฤษที่ว่า การอ่านทำคนให้เป็นคนโดยสมบูรณ์

ความหมายของการอ่าน               การอ่านเป็นพฤติกรรมการรับสารที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการฟัง ปัจจุบันมีผู้รู้นักวิชาการและนักเขียนนำเสนอความรู้ ข้อมูล ข่าวสารและงานสร้างสรรค์ ตีพิมพ์ ในหนังสือและสิ่งพิมพ์อื่น ๆ มาก นอกจากนี้แล้วข่าวสารสำคัญ ๆ หลังจากนำเสนอด้วยการพูด หรืออ่านให้ฟังผ่านสื่อต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะตีพิมพ์รักษาไว้เป็นหลักฐานแก่ผู้อ่านในชั้นหลัง ๆความสามารถในการอ่านจึงสำคัญและจำเป็นยิ่งต่อการเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพในสังคมปัจจุบัน

ความสำคัญของการอ่าน               ในสมัยโบราณที่ยังไม่มีตัวหนังสือใช้ มนุษย์ได้ใช้วิธีเขียนบันทึกความทรงจำและเรื่องราวต่าง ๆ เป็นรูปภาพไว้ตามฝาผนังในถ้ำ เพื่อเป็นทางออกของอารมณ์ เพื่อเตือนความจำหรือเพื่อบอกเล่าให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วย แสดงถึงความพยายามและความปรารถนาอันแรงกล้าของมนุษย์ ที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ของตนเป็นสัญลักษณ์ที่คงทนต่อกาลเวลาจากภาพเขียนตาม ผนังถ้ำ ได้วิวัฒนาการมาเป็นภาษาเขียนและหนังสือ ปัจจุบันนี้หนังสือกลายเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งต่อมนุษย์จนอาจกล่าวได้ว่าเป็น ปัจจัยอันหนึ่งในการดำรงชีวิตคนที่ไม่รู้หนังสือแม้จะดำรงชีวิตอยู่ได้ก็ เป็นชีวิตที่ไม่สมบูรณ์ ไม่มีความเจริญ ไม่สามารถประสบความสำเร็จใด ๆ ในสังคมได้หนังสือและการอ่านหนังสือจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง  

การอ่านประกอบด้วย
การอ่าน  การอ่านออกเสียงคำ  ประโยค   การอ่านบทร้อยแก้ว   คำประพันธ์ชนิดต่างๆ   การอ่านในใจเพื่อสร้างความเข้าใจ  และการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้จากสิ่งที่อ่าน   เพื่อนำไป ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
  
การอ่านในใจและการย่อความ
การอ่านเป็นพฤติกรรมการับสารอย่างหนึ่ง  กล่าวคือเป็นการรับรู้เรื่องราวโดยใช้สายตามองดูตัวอักษร  เเล้วสมองก็จะลำดับเป็นถ้อยคำ  ประโยค  เเละ  ข้อความต่างๆเกิดเป็นเรื่องราวตามความรู้ประสบการณ์ของผู้อ่านเเต่ละคน  การอ่านช่วยให้เราสามารถติดตามความเคลื่อนไหว  ความก้าวหน้า  เเละความเปลี่ยนเเปลงทั้งหลายได้ทันต่อเหตุการณ์  ฉะนั้นการอ่านจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตของทุกคนในปัจจุบัน 
การอ่านในใจ คือ การอ่านไม่ออกเสียง
วิธีการอ่านในใจประกอบด้วย
๑.
 
ตั้งสมาธิให้เเน่วเเน่
๒.
 
กะช่วงสายตาให้ยาว
๓.
 
ไม่อ่านย้อนไปย้อนมา
๔.
  ไม่ออกเสียงเวลาอ่าน 

               การอ่านในใจเพื่อทำให้ตัวผู้อ่านมีความรู้  ความคิดวิจารณญานเเล้วนำสิ่งเหล่านี้ไปให้ประโยชน์เพื่อก่อให้เกิดความเจริญขึ้นทางด้านร่างกายสติปัญญา  อารมณ์เเละความคิด  ในชีวิตประจำวัน  เราต้องได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างมากมาย  เเละทักษะหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการอ่านในใจที่จะสามารถช่วยนักเรียนให้ใช้เวลาอย่างคุ้มค่าเเละสามารถรับข้อมูลข่าวสารต่างๆในปริมาณมากก็คือ  ทักษะการอ่านเร็ว

การอ่านเร็ว คือ การกวาดสายตาอย่างรวดเร็วตามตัวอักษร  เพื่อพิจารณาเนื้อเรื่องอย่างคราวๆ  ว่ากล่าวถึงอะไร  หรือดูชื่อเรื่อง  ชื่อหนังสือ  สารบัญหัวข้อในเล่มเเละข้อความบางตอนเป็นการอ่านที่ใช้เวลาไม่มากนัก

การฝึกทักษะในการอ่านเร็วมีดังต่อไปนี้
๑.
  ตั้งคำถามว่าต้องอ่านเพื่ออะไร  เช่น  เพื่อการศึกษาค้นคว้า 
สำรวจข้อมูล เป็นต้น
๒.
  มีสมาธิในการอ่าน 
ควรกำหนดจิตใจให้เเนวเเน่อยู่กับเรื่องที่อ่านเท่านั้น
๓.
  ฝึกวาดสายตาไปตามตัวอักษรอย่างรวดเร็ว  เเละพยายามกำหนดช่วงสายตาให้อยู่ในช่วงสองบรรทัด  สำรวจชื่อเรื่อง  สารบัญ  คำนำ  บทนำ  ก่อนอ่านตัวเล่ม  อ่านเเบบๆคราวๆเพื่อเน้นความเข้าใจเบื้องต้นด้วยความรวดเร็ว  อ่านเเบบค้นหาเฉพาะสิ่งที่ต้องการ  การอ่านทั้งย่อหน้า  อ่านเป็นบทๆ 
เป็นต้น
๔.
  ฝึกจับเวลาในการอ่าน 
เเล้วพยายามใช้เวลาให้การอ่านให้น้อยลงตามลำดับ
๕.
  เมื่ออ่านข้อความหรือเนื้อเรื่องที่ตนอ่านจบให้ตรวจสอบว่าตนเองรู้เรื่องที่อ่านมากน้อยเพียงใด  โดยคิดทบทวนเรื่องที่อ่าน  หรือตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน

การอ่านบทร้อยแก้ว
                การอ่านบทร้อยแก้ว คือ การอ่านด้วยเสียงธรรมดาต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ โดยไม่มีลักษณะบังคับใดๆ เหมือนกับการอ่านบทร้อยกรอง เช่น การอ่านนิทาน ข่าว ประกาศ เป็นต้น

ข้อควรปฏิบัติในการอ่านบทร้อยแก้ว มีดังนี้
๑. อ่านออกเสียงให้ถูกต้องตามอักขรวิธี เช่น เสียงคำควบกล้ำ เป็นต้น
๒. อ่านออกเสียงให้ชัดเจน ไม่อ่านเสียงดังหรือเบาจนเกินไป
๓.อ่านเว้นวรรคตอนให้ถูกต้อง
๔. เน้นเสียงหนักเบาให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่อ่าน
๕. นั่งหรืออ่านให้หลังตรง เป็นธรรมชาติ

การอ่านบทร้อยกรอง
                การอ่านบทร้อยกรอง เป็นการอ่านที่ต้องออกเสียงให้ถูกต้องตามจังหวะ ซึ่งเป็นลักษณะบังคับของบทร้อยกรองประเภทที่อ่าน เช่น การอ่านกลอนสุภาพ การอ่านกาพย์ยานี ๑๑ เป็นต้น

หลักในการอ่านบทร้อยกรอง มีดังนี้ ๑.  อ่านออกเสียงธรรมดา โดยมีจังหวะ และการเเบ่งคำตามลักษณะของบทประพันธ์ และอ่านให้ถูกอักขรวิธี ชัดเจน คล่องเเคล่ว เน้นสัมผัส พร้อมทั้งใส่อารมณ์ในน้ำเสียงตามเนื้อเรื่องนั้นๆ
๒.  อ่านเป็นทำนองเสนาะ โดยใช้น้ำเสียงสูง-ต่ำ หนัก-เบา โดบแบ่งวรรคตอน และอ่านเน้นคำตามลักษณะชนิดของคำประพันธ์ และใช้น้ำเสียงเเสดงอารมณ์ตามเนื้อเรื่องที่อ่าน ซึ่งบทร้อยกรองแต่ละประเภทก็จะมีวิธีการอ่านแตกต่างกัน






ตัวอย่าง การแบ่งจังหวะวรรคตอนในบทร้อยกรอง

กลอนสุภาพ มีจังหวะวรรคตอนการอ่าน ดังนี้
             กลอนสุภาพ/แปดคำ/ประจำบ่อน                อ่านสามตอน/ทุกวรรค/ประจักษ์เเถลง
             ตอนต้นสาม/ตอนสอง/สองเเสดง                ตอนสามเเจ้ง/สามคำ/ครบจำนวน
             กำหนดบท/ระยะ/กะสัมผัส                      ให้ฟาดฟัน/ขัดความ/ตามกระสวน
             วางจังหวะ/กะทำนอง/ต้องกระบวน             จึงจะชวน/ฟังเสนาะ/เพราะจับใจ

กาพย์สุรางค์นางค์ มีจังหวะวรรคตอนการอ่าน ดังนี้
                                                            ขอเชิญ/เด็กไทย
                         นึกถึง/ต้นไม้                      ในด้าน/คุณค่า
                         ปลูกเพื่อ/ประดับ                  ตกเเต่ง/เคหา
                         กันเเสง/สุริยา                     ด้วยเงา/ร่มเย็น

กาพย์ฉบัง ๑๖ มีจังหวะวรรคตอนการอ่าน ดังนี้
                         แมงทับ/วาววับ/แวมสี           ดังนิล/มณี
                         แกมทอง/ระรอง/เรืองฉาย

กาพย์ยานี ๑๑ มีจังหวะวรรคตอนการอ่าน ดังนี้
                         มัสมั่น/แกงแก้วตา                หอมยี่หร่า/รสร้อนแรง
                        ชายใด/ได้กลืนแกง                เเรงอยากให้/ใฝ่ฝันหา








การอ่านบทอาขยาน
                การอ่านบทอาขยาน หมายถึง บทท่องจำ ส่วนใหญ่บทอาขยานจะคัดเลือกมาจากวรรณคดี หรือบทกวีที่มีความไพเราะ และมีความหมายดี ให้ความรู้ และข้อคิดต่างๆ
การอ่านบทอาขยาน มีหลักการเช่นเดียวกับการอ่านบทร้อยกรองทั่วไป คือ ต้องอ่านถูกต้องตามอักขรวิธี แบ่งจังหวะให้ถูก ไม่อ่านเสียงดังหรือเบาเกินไป และใช้สายตากวาดตัวอักษรก่อนอ่าน ไม่ส่ายหน้าไปมาตามตัวอักษร

ตัวอย่าง บทอาขยาน

ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

             
เราเกิดมาทั้งทีชีวิตหนึ่ง                      อย่าหมายพึ่งผู้ใดให้เขาหยัน
            
ควรคะนึงพึ่งตนทนกัดฟัน                   คิดบากบั่นตั้งหน้ามานะนำ
            
กสิกิจพณิชยการงานมีเกียรติ                 อย่าหยามเหยียดพาลหาว่างานต่ำ
            
หรือจะชอบวิชาอุตสาหกรรม                เชิญเลือกทำตามถนัดอย่าผัดวัน
            
เอาดวงใจเป็นทุนหนุนนำหน้า                เอาปัญญาเป็นแรงมุ่งแข่งขัน
            
เอาความเพียรเป็ฯยานประสานกัน            ผลจะบรรลุสู่ประตูชัย
            
เงินและทองกองอยู่ประตูหน้า                 คอยเปิดอ้ายิ้มรับไม่ขับไส
            
ทรัพย์ในดินสินในน้ำออกคล่ำไป              แหลมทองไทยพร้อมจะช่วยอำนวยเอย


ทักษะการเขียน

                ทักษะการเขียนประกอบด้วย
การเขียนสะกดตามอักขรวิธี   การเขียนสื่อสาร โดยใช้ถ้อยคำและรูปแบบต่างๆ ของการเขียน  ซึ่งรวมถึงการเขียนเรียงความ  ย่อความ  รายงานชนิดต่างๆ การเขียนตามจินตนาการ วิเคราะห์วิจารณ์  และเขียนเชิงสร้างสรรค์

การย่อความ
การย่อความ  คือการเก็บใจความสำคัญของเรื่องมาเรียบเรียงใหม่  ให้สั้นกว่าเดิมแต่มีใจความสำคัญครบถ้วนสมบูรณ์  ว่า  ใคร  ทำอะไร   ทีไหน  เมื่อไร  อย่างไร โดยใช้สำนวนภาษาของผู้ย่อเอง
การย่อความ  คือ  การสรุปเนื้อความให้เหลือสั้นลงกว่าเดิม  มีลักษณะกะทัดรัดเเละได้ใจความสำคัญ  ครบถ้วน  ซึ่งผู้ย่อจะต้องอ่านข้อความให้เข้าใจอย่างเเจ่มเเจ้งอย่างน้อย๑รอบ  เมื่ออ่านรอบสอง  จึงค่อยพยายามเก็บข้อมูลสำคัญ
ประโยชน์ของการย่อความ
1. ช่วยให้การอ่าน  การฟังได้ผลดียิ่งขึ้น  ช่วยให้เข้าใจและจดจำข้อความสำคัญที่ได้อ่านหรือฟังได้สะดวกรวดเร็ว
                2.
ช่วยในการจดบันทึก  เมื่อได้ฟังหรือศึกษาวิชาใดก็ตาม  รู้จักจดข้อความสำคัญลงสมุดได้ทันเวลาและเรื่องราว
                3.
ช่วยในการตอบแบบฝึกหัดหรือข้อสอบ  กล่าวคือผู้ตอบจะต้องย่อความรู้ทั้งหมดที่มีอยู่ในรูปของข้อเขียนสั้น ๆ   แต่มีใจความครบถ้วน
                4.
ช่วยเตือนความทรงจำ  นักเรียนอ่านหนังสือแล้วทำบทย่อหน้าเป็นตอน ๆ หรือเป็นระยะ ๆ ควรทำติดต่อกัน                  
    อย่างสม่ำเสมอ  จะช่วยให้ไม่ต้องอ่านหนังสือซ้ำใหม่ ตลอดเล่ม
                5.
 ช่วยประหยัดเงินในการเขียนโทรเลขได้   ถ้ารู้จักย่อความจะเขียนข้อความได้สั้น ๆ   เนื้อความกะทัดรัดชัดเจน  ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราว
จุดประสงค์ที่สำคัญของการย่อความ
          1.  เพื่อรู้จักจับใจความสำคัญของเรื่อง  ว่าเรื่องที่ฟังหรืออ่าน  เป็นเรื่องของใคร   ทำอะไร   ที่ไหน    เมื่อไร    อย่างไร
                2.
  เพื่อนำใจความสำคัญไปถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่น  หรือเพื่อสรุปเนื้อเรื่องที่ได้ฟัง  ได้อ่านนั้น  เอาไปใช้ประโยชน์ในโอกาสต่อไป
หลักในการย่อความ
             1.  เขียนคำนำตามประเภทของเรื่อง
             2.  อ่านเรื่องทั้งหมดอย่างละเอียด  อาจจะอ่านถึง 2-3 เที่ยว  เพื่อให้เข้าใจเนื้อเรื่อง
             3.  ทำความเข้าใจศัพท์  สำนวนโวหารในเรื่อง
             4.  ถ้าเรื่องที่จะย่อเป็นร้อยกรองต้องถอดคำประพันธ์เป็นร้อยแก้วก่อนจึงย่อ
             5.  สังเกตใจความสำคัญแล้วแยกออกเป็นตอน ๆ
             6.  สรรพนามบุรุษที่ 1 , 2  ต้องเปลี่ยนเป็นสรรพนามบุรุษที่ 3   หรือเอ่ยชื่อ
             7.  ถ้าคำเดิมเป็นคำราชาศัพท์ให้คงไว้
             8.  ข้อความที่เป็นคำพูดในเครื่องหมายอัญประกาศต้องเขียนใหม่ซึ่งเรียกว่าเปลี่ยนเลขในเป็นเลขนอก
             9.  เรื่องที่ย่อถ้าไม่มีชื่อเรื่อง  ผู้ย่อต้องตั้งชื่อเรื่องเอง
การเขียนคำนำในการย่อความ
                1. การย่อความ  บทความ  สารคดี  นิทาน  นิยาย  เรื่องสั้น  ข่าว  ฯลฯ   ให้บอกประเภท  ชื่อเรื่อง  ชื่อผู้แต่ง  ที่มาของเรื่อง     นิทานเรื่อง………………………………..ของ………………….จาก…………..…..ความว่า ....................................................
                2.  การย่อความประกาศ   แจ้งความ   แถลงการณ์  ฯลฯ ให้บอกประเภท   ชื่อเรื่อง   ชื่อผู้ประกาศ  วัน  เดือน   ปีที่ประกาศ      ประกาศเรื่อง…………………………ของ………………..จาก…………………..ความว่า
                3.  การย่อจดหมายให้บอกประเภทชื่อผู้เขียน  ชื่อผู้รับ  วัน  เดือน  ปี  ที่เขียน
     จดหมายของ………………………ถึง…………………..ลงวันที่………………..ความว่า
                4. การย่อโอวาท  คำปราศรัย  สุนทรพจน์ให้บอกประเภท   ชื่อผู้พูด  ชื่อผู้ฟัง   โอกาสที่พูด  สถานที่   วัน  เดือน  ปีที่เขียน      คำปราศรัยของ……………………….แก่………………………….เนื่องใน…………………ทาง (ณ)………………………………………วันที่……………………..ความว่า……………
                5. การย่อบทร้อยกรองให้บอกประเภท   ชื่อเรื่อง  ชื่อผู้แต่ง  ที่มาของเรื่อง
    กลอนสุภาพเรื่อง……………………………ของ……………………จาก……………ความว่า
เเนวทางการเขียนข้อความ๑.  อ่านเนื้อเรื่องที่จะย่อให้เข้าใจ  โดยอ่านมากกว่า๒รอบก็ได้
๒.
  เมื่อเข้าใจเรื่องเเล้ว  จึงจับใจความสำคัญทีละย่อหน้า  เพราะในหนึ่งย่อหน้าจะมีใจความสำคัญเพียงข้อเดียวเเล้วตัดบทความที่เป็นส่วนประกอบต่างๆออกไป 
คงไว้เเต่ส่วนที่เป็นสาระสำคัญ
๓.
  นำใจความสำคัญเเต่ละย่อหน้ามาเขียนใหม่ด้วยภาษาของตนเอง  โดยคำนึงถึงสิ่งต่างๆดังนี้               (๑)  ต้องมีคำนำย่อความตามรูปแบบของข้อเขียน                (๒)  เปลี่ยนสรรพนามบุรุษที่ ๑ เเละบุรุษที่ ๒ ให้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓                (๓)  ไม่ใช้อักษรย่อ                (๔)  ถ้ามีคำราชาศัพท์ให้คงไว้ไม่ต้องเเปลเป็นคำสามัญ               (๕)  ไม่ใช้เครื่องหมาต่างๆในข้อความที่ย่อ                (๖)  เขียนเนื้อเรื่องที่ย่อเเล้วเป็นย่อหน้าเดียว  มีความยาวประมาณ ๑  ใน  ๓ หรือ ๑ ใน  ๔ของเนื้อเรื่องเดิม  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาระสำคัญในเรื่อง
รูปแบบของการขึ้นต้นย่อความ                ๑. ถ้าเรื่องนั้นเป็นความเรียงร้อยแก้ว เช่น นิทาน ตำนาน นวนิยาย เรื่องสั้น บท
ความ เรียงความ ฯลฯ
ย่อ (นิทาน, นวนิยาย, เรื่องสั้น, บทความ ฯลฯ) เรื่อง... ของ... จาก... ความว่า............................................................................................................................................................               ๒. ถ้าเรื่องนั้นเป็นประกาศ แจ้งความ แถลงการณ์ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง ฯลฯ
ย่อ (ประกาศ
, ระเบียบ,
คำสั่ง ฯลฯ)
                เรื่อง... ของ... แก่... ลงวันที่...
 ความว่า ..................................................................................    
๓. ถ้าเรื่องนั้นเป็นจดหมาย
               ย่อ (จดหมาย
, สาส์น,
หนังสือราชการ ฯลฯ) ฉบับที่ ... ของ... ถึง... ลงวันที่... ความว่า.............................................................................................................................................................
                ๔. ถ้าเรื่องนั้นเป็นรายงาน คำปราศรัย สุนทรพจน์ โอวาท คำกล่าวเปิด ฯลฯ
ย่อ (รายงาน
, คำปราศรัย, สุนทรพจน์,
โอวาท ฯลฯ)
                ของ... ให้... แก่... เนื่องในโอกาส... ณ... เมื่อวันที่... ความว่า .................................................
                ๕. ถ้าเรื่องนั้นเป็นคำสอน คำบรรยาย ปาฐกถา ถ้อยแถลง ฯลฯ
ย่อ (ปาฐกถา
, คำบรรยาย ฯลฯ)
                ของ... เรื่อง... ให้ ... แก่... ณ... เมื่อวันที่... ความว่า.................................................................
                ๖. ถ้าเรื่องนั้นเป็นร้อยกรอง
ย่อ (กลอนสุภาพ
, โคลงสี่สุภาพ ฯลฯ)
                 เรื่อง... ตอน... ความว่า .........................................................................................................



ตัวอย่างการย่อข่าว
             ข่าวเรื่อง นักศึกษาไปเล่นน้ำจมก้นเขื่อน  จากหนังสือพิมพ์  ไทยรัฐ  ฉบับวันพฤหัสบดีที่  22  มีนาคม  2544  ความว่า
              นายประเสริฐ  พงษ์เสน  นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ปวช. วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่  ไปเล่นน้ำ     กับเพื่อนที่เขื่อนแม่กวง  จ.เชียงใหม่   เกิดเป็นตะคริวและจมหายไปจนเสียชีวิตในที่สุด 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น