WELCOME TO BLOG MOOK CLUB.

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

หลักการใช้ภาษาไทย

หลักการใช้ภาษาไทย  ธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของภาษาไทย  การใช้ภาษาให้ถูกต้องเหมาะสมกับโอกาสและบุคคล  การแต่งบทประพันธ์ประเภทต่างๆ และอิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
อิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
อิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย สาเหตุที่ทำให้ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย ได้แก่ สภาพทางภูมิศาสตร์ คือการมีอาณาเขตใกล้เคียงกัน ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกัน โดยมีการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ การติดต่อค้าขายระหว่างกันและการรับเอาวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ และความคิดความเชื่อทางศาสนา จึงมีการยืมคำในภาษาต่าง ๆ มาใช้มากมาย เช่น ภาษาเขมร จีน พม่า ชวา มลายู อังกฤษ เป็นต้น.....
                สาเหตุที่ทำให้ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย  ได้แก่  สภาพทางภูมิศาสตร์  คือการมีอาณาเขตใกล้เคียงกัน  ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกัน โดยมีการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ การติดต่อค้าขายระหว่างกันและการรับเอาวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ และความคิดความเชื่อทางศาสนา จึงมีการยืมคำในภาษาต่าง ๆ  มาใช้มากมาย เช่น  ภาษาเขมร จีน พม่า ชวา มลายู อังกฤษ เป็นต้น
คำยืมจากภาษาเขมร   
           ไทยกับเขมรมีความสัมพันธ์กันมานับพันปี ต่างถ่ายทอดวัฒนธรรมและอารยธรรมซึ่งกันและกัน ในสมัยโบราณ  ไทยได้รับเอาอักษรขอมบรรจงและขอมหวัด  มาใช้  ซึ่งไทยถือว่าศักดิ์สิทธิ์  จึงมักมีการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาลงบนแผ่นหิน ใบลาน ใช้ตัวอักษรขอมเขียนคาถาอาคมต่าง ๆ ปรากฏตามพระพิมพ์  เหรียญพระเครื่อง  ตะกรุด  ผ้ายันต์ต่าง ๆ 
คำยืมจากภาษาจีน  
           ไทยกับจีนมีความสัมพันธ์กันทางการทูตและการค้าขายมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยสืบมาจนถึงปัจจุบัน ชาวไทยมาทำมาหากินในประเทศไทย  แต่งงานกับคนไทยจนกลายเป็นพลเมืองไทยเชื้อสายจีนเป็นจำนวนมาก  มีการผสมทางด้านวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ ตลอดมา  คำยืมในภาษาจีนส่วนใหญ่เป็นสำเนียงแต้จิ๋ว   มักเป็นคำเรียกสิ่งของเครื่องใช้ อาหาร พืช ผัก ผลไม้ รวมทั้งคำที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมจีน แต่ไทยนิยมนำคำจากภาษาจีนมาใช้ในภาษาพูด ไม่นิยมใช้ในภาษาเขียน
คำยืมจากภาษาอังกฤษ
            คนในโลกยอมรับภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางและนิยมใช้กันมากที่สุด ไทยเริ่มติดต่อกับชาติตะวันตกที่พูดภาษาอังกฤษมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาโดยทางการค้า เมื่อ พ.ศ. ๒๑๕๕ ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีทูตจากประเทศทางตะวันตกมาเจรจาเรื่องการค้ากับรัฐบาลไทย  พ่อค้าชาวอังกฤษชื่อ  Hunter  เข้ามาค้าขายเป็นคนแรกในกรุงเทพฯ   ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มมีคณะทูตสอนศาสนาเข้ามา และได้นำวิทยาการใหม่ ๆ เช่น  การพิมพ์ การแพทย์ เข้ามาเผยแพร่  คำภาษาอังกฤษจึงเริ่มปรากฏในเอกสารภาษาไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ มากมาย  เช่น ชื่อชนชาติ ชื่อบุคคล ชื่อยศ, บรรดาศักดิ์ ชื่อประเทศ ชื่อเมือง ชื่อศาสนา เป็นต้น ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีคำยืมภาษาอังกฤษปรากฏมากขึ้นในเอกสารประเภทจดหมายเหตุ พระราชหัตถเลขา  พงศาวดาร และคำสามัญ  คำเรียกเครื่องมือเครื่องใช้ เรียกทะเลมหาสมุทรก็มากขึ้นด้วย            สมัยรัชกาลที่ ๕ ภาษาอังกฤษขยายวงกว้างออกไปสู่ประชาชน เพราะมีโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษและวิชาการต่าง ๆ มีศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ พฤกษศาตร์ สัตวศาสตร์เกิดขึ้นมากมายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒  คำยืมภาษาอังกฤษหลั่งไหลเข้ามาในภาษาไทยอย่างกว้างขวาง  เพราะมีนักเรียนไทยไปเรียนศึกษาในประเทศแถบยุโรป และอเมริกา การเดินทางระหว่างประเทศ  การสื่อสาร การติดต่อค้าขาย และการขยายตัวของอุตสาหกรรมการค้าในโลก  ตลอดทั้งการรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกด้านต่าง ๆ เช่น ด้านบันเทิง กีฬา  แฟชั่น การแต่งกาย เป็นไปอย่างรวดเร็ว ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ภาษาอังกฤษเข้ามามีอิทธิพลต่อภาษาไทยเป็นอย่างมาก  เรานำมาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น เรามีคำยืมภาษาอังกฤษทุกรูปแบบ  ทั้งคำทับศัพท์  คำแปลศัพท์ และศัพท์บัญญัติ  การยืมคำภาษอังกฤษมาใช้ในภาษาไทยช่วยเปิดและขยายโลกทัศน์ด้านวิชาการ  เศรษฐกิจ  เทคโนโลยี และวัตถุนิยมแก่คนไทย ทำให้เกิดค่านิยมใหม่ว่า ภาษาอังกฤษเป็นภาษาของผู้มีการศึกษา มีความทันสมัย และอยู่ในสังคมชั้นสูง
คำยืมจากภาษาโปรตุเกส
            ตัวอย่างคำที่ยืมมาจากภาษาโปรตุเกส ได้แก่คำว่า กระดาษ (สันนิษฐานว่าเพี้ยนมากจาก กราตัส”)  กะละแม  กะละมัง (ขนม)ปัง  ปั้นเหน่ง หลา เหรียญ  บาทหลวง  เลหลัง  สบู่
คำยืมจากภาษาเปอร์เชีย
            ตัวอย่างคำที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เชีย เช่น คำว่า กุหลาบ (มาจากคำว่า Gul Gol แปลว่า กุหลาบ,  ดอกไม้ทั่วไปสีแดง  เติม suffix - ab เป็น กุลลาพ  แปลว่า น้ำกุหลาบหรือน้ำดอกไม้เทศ  ไทยนำมาใช้แทนดอกไม้ขนาดย่อม มีกลิ่นหอม  นอกจากนี้ยังมีคำอื่น ๆ  เช่น เกด คาราวาน ชุกชี ตาด เยียรบับ ตรา ตราชู  ฝรั่ง ราชาวดี  ศาลา  สนม  สักหลาด สุหร่าย  องุ่น  
คำยืมจากภาษาอาหรับ
            ตัวอย่างคำที่ยืมมาจากภาษาอาหรับได้แก่  กะลาสี  โกหร่าน (พระคัมภีร์กุรอาน)  ระยำ (การลงโทษโดยใช้ก้อนหินขว้างให้ตายเพราะทำผิดประเพณี  ไทยนำมาใช้ในความหมายว่า  ชั่วช้าเลวทราม)
คำยืมจากภาษาทมิฬ มลายู
        ตัวอย่างคำที่ยืมมาจากภาษาทมิฬได้แก่คำว่า  กะไหล่  กุลี  กานพลู  กำมะหยี่ จงกลนี ตรียัมปวาย ปะวะหล่ำอาจาด  กะละออม   กะหรี่ (แกงแขกชนิดหนึ่ง)   ตัวอย่างคำที่ยืมมาจากภาษามลายู  ได้แก่คำว่า กว้าน พลาย เพลาะ   ฝาละมี   กำมะลอ   สะบ้า   สมิง   กระแจะ   ตวัก  
อิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
๑.   ทำให้คำในภาษาไทยมีหลายพยางค์เนื่องจากการยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้   เช่น
            ภาษาเขมร เช่น เผด็จ  เสวย  กังวล บำเพ็ญ  ถนน
            ภาษาจีน  เช่น  ตะหลิว  ก๋วยเตี๋ยว เล่าเตง เอี้ยมจุ๊น
            ภาษาอังกฤษ เช่น  คลินิก สนุกเกอร์  เนกไท  แคชเชียร์
            ภาษาบาลี-สันสกฤต    เช่น ปรัชญา  กรีฑา   อัคนี  วิทยา   พร  ประเสริฐ
๒.   ทำให้คนไทยมีเสียงควบกล้ำมากขึ้น  เช่น  จันทรา  นิทรา  ทรานซิสเตอร์  เอนทรานซ์  และเพิ่มเสียงควบกล้ำ
ซึ่งไม่มีในภาษาไทย  เช่น  ดรัมเมเยอร์   ดร๊าฟ  เบรก  บรอนซ์  บล็อก ฟรี แฟลช  ฟลอโชว์  ฟลูออรีน
๓.    ทำให้คำไทยมีตัวสะกดมากขึ้น  ปกติคำไทยแท้ ตัวสะกดจะตรงตามมาตรา ซึ่งมีเพียง  8  แม่  แต่คำยืมจาก
ภาษาต่างประเทศจะสะกดไม่ตรงตามมาตรา  ดังตัวอย่าง
                              แม่กก    เช่น    สุข  เมฆ  เช็ค  สมัคร                                แม่กด    เช่น    กฎ  รัฐ  กอล์ฟ  ฤทธิ์  พุทธ                               แม่กน   เช่น     เพ็ญ   เพียร  สูญ  บอล   คุณ  กุศล                                แม่กบ   เช่น     รูป  โลภ กราฟ  กอล์ฟ  
๓.   ทำให้คำในภาษาไทยมีคำศัพท์มากขึ้น  สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม    เช่น
                น้ำ       -     อุทก  วารี  คงคา  สาคร  ธาร  ชล  ชโลธร           ผู้หญิง    -    นงเยาว์ นงคราญ  อิตถี  สตรี  กัลยา  สุดา  สมร  วนิดา
 
ทักษะการพูด
การพูด เป็นวิธีหนึ่งของการสื่อสาร การถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก หรือความต้องการ ด้วยเสียง ภาษา และกิริยาท่าทาง เพื่อให้ผู้รับฟังรับรู้ เข้าใจได้ตรงตามจุดประสงค์ของผู้พูด การสื่อสารจึงจะบรรลุผลได้
การพูด เป็นการสื่อสารด้วยภาษา จากตัวผู้พูดไปยังผู้ฟัง เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของตน รวมทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ความรู้ ความคิดเห็น ก่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันช่วยให้กิจการต่างๆ ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย





ความหมายของการพูด     การพูดเป็นกระบวนการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดความรู้ ความคิด ตลอดจนการแสดงความรู้สึกต่าง ๆ จากผู้พูด ผู้ฟัง โดยใช้ระบบสัญลักษณ์ ทั้งวัจนภาษา
  ประเภทของการพูด
   การพูดอาจแบ่งได้หลายประเภทตามกระบวนการสื่อสารหรือแบ่งตามวิธีการผู้พูดซึ่งแบ่งออกเป็น ๔ ประการ
             ๑. การพูดโดยฉลับพลัน
                เป็นการพูดที่ผู้พูดไม่มีโอกาสรู้ตัวมาก่อนและไม่ได้มีการเตรียมตัวมาก่อนล่วงหน้า ดังนั้น ผู้พูดจะต้องอาศัยประสบการณ์ ความรู้ละปฎิภาณไหวพริบในการแก้ไข
ปํญหาเฉพาะหน้า และนำเสนอเรื่องราวที่จะพูดให้กระชับได้สาระและสอดคล้อง
กับ วัตถุประสงค์ ในการพูดการพูดดังกล่าว  ผู้พูดจะต้องเลือกสรรค์ถ้อยคำ
และภาษาที่ ไพเราะ มีความหมายกินใจประทับใจผู้ฟัง และสามารถสรุปสาระ
สำคัญ ในระยะเวลาอันสั้นเหมาะสม เช่นการพูดอวยพร คู้สมรส การอวยพรวันเกิด
การกล่าวต้อนรับ ผู้มาเยือน  การกล่าวขอบคุณใน โอกาสต่าง ๆ เป็นต้น
          ๒. การพูดโดยการเตรียมการล่วงหน้า
                เป็นการพูดที่พูดที่ผู้พูดรู้ตัวล่วงหน้าว่าจะพูดเรื่องอะไรผู้ฟังเป็นใคร พูดในโอกาสอะไร และใช้เวลามากน้อยเท่าไร ผู้พูดจะต้องเตรียมเนื้อหามา ให้เหมาะสมกับโอกาส และกลุ่มผู้ฟังและที่สำคัญจะต้องตรงกับจุดประสงค์ ของการพูด เช่นการพูดอภิปรายทางวิชาการ การแสดงปาฐกถา การประชุม  การสัมมนา เป็นต้น
           ๓. การพูดแบบท่องจำ
                เป็นการพูดที่ผู้พูดเตรียมตัวมาล่วงหน้าและท่องจำเรื่องราวต่างๆ พูด การพูดประเภทนี้ผู้พูดจะต้องจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้แม่นยำ มีความมั่นใจในการพูด และมีสมาธิในการนำเสนอ เรื่องราวให้เป็นไปตามลำดับขั้นตอน ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะช่วยให้ผู้พูด พูดได้อย่างเป็นธรรมชาติ การพูดแบบท่องจำ แม้นผู้พูดเตรียมตัวมาเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม หากขณะพูดเกิดความรู้สึกตื่นเต้นประหม่าอันเนื่อง มาจากสภาวะแวดล้อมหรือเหตุอื่น ๆ ผู้พูดอาจจะลืม เรื่องราวที่จะพูดในบางตอน ซึ่งจะทำให้การเสนอเรื่องราวนั้น ๆ ไม่สมบรูณ์ได้ เช่น การพูดรายงาน เป็นต้น
         ๔. การพูดโดยอ่านจากต้นฉบับ  
                เป็นการพูดที่มีการเตรียมต้นฉบับมาล่วงหน้า ผู้พูดสามารถอ่านเนื้อหาจากต้นฉบับได้ การพูดโดยการอ่านจากต้นฉบับนั้นผู้พูดควรสบตา กับผู้ฟังเป็นระยะ ๆ ไม่ควรก้มหน้าอ่านเพียง  อย่างเดียว จะทำให้เสียบุคลิก และ ขาดความน่าเชื่อถือ เช่น การกล่าวคำปราศัยหรือสุนทรพจน์ การกล่าว
เปิด-ปิดงาน พิธีการต่าง ๆ การรายงานข่าว เป็น


 มารยาทในการพูด
                การพูดที่ดีไม่ว่าจะเป็นการพูดในโอกาสใด หรือประเภทใด ผู้พูดต้องคำนึงถึงมารยาทในการพูด ซึ่งจะมีส่วนส่งเสริมให้ผู้พูดได้รับการชื่นชมจากผู้ฟัง ซึ่งจะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในการพูด มารยาทที่สำคัญของการพูดสรุป ได้ดังนี้  พูดด้วยวาจาสุภาพ แสดงหน้าตาที่ยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่พูดอวดตนข่มผู้อื่น และยอมรับฟังความคิดของผู้อื่นเป็นสำคัญ ไม่กล่าววาจาเสียดแทง ก้าวร้าวหรือพูดขัดคอบุคคลอื่น ควรใช้วิธีที่สุภาพเมื่อต้องการแสดงความคิดเห็น รักษาอารมณ์ในขณะพูดให้เป็นปกติ ไม่นำเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาพูด หากนำคำกล่าวของบุคคลอื่นมากล่าว ต้องระบุนามหรือแหล่งที่มาเป็นการให้เกียรติบุคคลที่กล่าวถึง หากพูดในขณะที่ผู้อื่นยังพูดไม่จบ ควรกล่าวคำขอโทษ ไม่พูดคุยกันข้ามศีรษะผู้อื่น ใช้ภาษาสุภาพเหมาะสมกับบุคคลและโอกาส พูดตรงประเด็นและได้สาระตรงจุดมุ่งหมายของการพูด แสดงความคิดเห็นได้อย่างตรงประเด็น เหมาะสมกับกาลเทศะและโอกาส รับฟังและเคารพในความคิดเห็นของผู้อื่นอยู่เสมอ ไม่ควรพูดเรื่องส่วนตัว หรือนำเรื่องพาดพิงถึงผู้อื่นมาพูด อาจทำให้ผู้อื่นเกิดการเสียหายได้ หากมีกำหนดระยะเวลาในการพูด ควรรักษาเวลาของตนอย่างเคร่งครัด และไม่ควรพูดแทรกขณะที่ผู้อื่นกำลังพูด
  ลักษณะของผู้พูดที่ดี
          ๑. เป็นผู้มีความรู้เนื้อหาสาระที่จะพูดเป็นอย่างดี
          ๒. เตรียมตัวในการพูดเป็นอย่างดีทุกครั้งในกรณีที่ทราบล่วงหน้า
          ๓. มีความสมารถในการใช้ภาษาสื่อสารกับผู้ฟังทั้งในด้านการอ่านออกเสียงถูกต้องตามอักขรวิธีและ
    การเลือกสรรถ้อยคำที่มีความหมายไพเราะกินใจผู้ฟัง
          แต่งกายสุภาพมีความเชื่อมมั่นในตนเอง
         รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ตลอดจนรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่นเพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนา
   ทักษะการพูดของตนเองให้ดียิ่งขึ้น
         ๖ เป็นผู้มั่นศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ
          มีทัศนคติที่ดีต่อการพูดและให้ความสำคัญต่อการพูดทุกครั้ง  
           
จุดมุ่งหมายของการพูด
        โดยทั่วไปแล้ว การพูดจะมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ ๆ อยู่ 3 ประการ

                1. การพูดเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ
        การพูดเพื่อจุดมุ่งหมายนี้ เราได้ฟังอยู่เป็นประจำไม่ว่าจะเป็นข่าวสารจากวิทยุ โทรทัศน์ หรือจากวงสนทนาในชีวิตประจำวัน มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้ฟังเกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ไม่เคยรู้ ไม่เคยมีประสบการณ์หรือมีความรู้ประสบการณ์บ้าง แต่ก็ยังไม่กระจ่างชัด
        การพูดประเภทนี้ ได้แก่ การรายงาน การพูดแนะนำ การบรรยาย การอธิบายการชี้แจง ดังตัวอย่างหัวข้อเรื่องที่พูดเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เช่น
  • ทำอย่างไรจึงจะเรียนเก่งและประสบความสำเร็จ
  • ภัยแล้ง
  • ทำไมราคาพืชผลทางการเกษตรจึงตกต่ำ
  • งามอย่างไทย
  • สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
2. การพูดเพื่อโน้มน้าวใจ
        การพูดเพื่อโน้มน้าวใจ เป็นการพูดที่มีจุดมุ่งหมายให้ผู้ฟังเชื่อและมีความคิดคล้อยตาม ทำหรือไม่ทำตามที่ผู้พูดต้องการหรือมีเจตนา ฉะนั้น ผู้พูดจะต้องชี้แจง ให้ผู้ฟังเห็นว่า ถ้าไม่เชื่อหรือปฏิบัติตาม ที่ผู้พูดเสนอแล้วจะเกิดโทษ หรือ ผลเสียอย่างไร
        การพูดชนิดนี้จะประสบความสำเร็จได้ดีมากน้อยเพียงไรนั้น ขึ้นอยู่กับตัวผู้พูดเองว่ามีบุคลิกภาพดีไหม มีการใช้ถ้อยคำภาษาที่ง่ายแก่การเข้าใจของกลุ่มผู้ฟังไหม และที่สำคัญ คือผู้พูดจะต้องมีศิลปะและจิตวิทยาในการจูงใจ ผู้ฟังได้เป็นอย่างดี การพูดเพื่อโน้มน้าวใจ จะเห็นตัวอย่างได้จากการพูดเพื่อหาเสียงในการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเพื่อเป็นหัวหน้าชั้น ผู้แทนกลุ่ม หรือองค์การต่างๆ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) หรือการพูดเพื่อรณรงค์ให้ผู้ฟังเลิกบุหรี่ หรือไม่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น การพูดเพื่อให้ช่วยกันประหยัดการใช้น้ำมัน ไฟฟ้า นอกจากนี้การพูด เพื่อโน้มน้าวใจจะนำไปใช้มากในด้านธุรกิจการขาย การโฆษณาเพื่อให้ผู้คนหันมานิยมใช้หรือซื้อสินค้าตุน
ตัวอย่างหัวข้อเรื่องที่พูดโน้มน้าวใจ
  • บริจาคโลหิตช่วยชีวิตมนุษย์
  • มาเลี้ยงลูกด้วยนมมารดากันเถอะ
  • ฟังดนตรีเถอะชื่นใจ
  • ช่วยทำเมืองไทยให้เป็นสีเขียวดีกว่า
  • ออกกำลังกายวันละนิดชีวิตแจ่มใส
  • เหรียญบาทมีความหมายเพื่อเด็กยากไร้ในชนบท
3. การพูดเพื่อความบันเทิง
        การพูดเพื่อจุดมุ่งหมายนี้เป็นการพูดที่มุ่งให้ผู้ฟัง เกิดความเพลิดเพลิน รื่นเริง สนุกสนานผ่อนคลายความตึงเครียด ในขณะเดียวกันก็แทรกเนื้อหาสาระ ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังด้วยผู้พูด จะต้องเป็นบุคคลที่มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสไม่เป็นคนเคร่งเครียดเอาจริงเอาจังเกินไป เพราะสิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อการสร้างบรรยากาศความเป็นกันเองให้เกิดขึ้นได้ ดังจะเห็นได้จากรายการต่างๆ ทางสื่อมวลชน ไม่ว่าจะเป็นวิทยุโทรทัศน์
ตัวอย่างหัวข้อเรื่องที่พูดเพื่อความบันเทิง
  • เราจะได้อะไรจากการฟังเพลงลูกทุ่ง
  • ทำอะไรตามใจคือไทยแท้
  • พูดใครคิดว่าไม่สำคัญ
  • ที่ว่ารัก รักนั้นเป็นฉันใด
   ประเภทของการพูดแสดงความคิดเห็น
          การพูดเพื่อแสดงความคิดเห็นอาจแบ่งได้หลายประเภทตามโอกาสที่ผู้พูดหรือตามลักษณะเนื้อหาของการแสดงความคิดเห็น แต่ในที่นี้ได้แบ่งประเภทของการพูดแสดงความคิดเห็นตามลักษณะเนื้อหาออกเป็น  ประเภท
          . การพูดแสดงความคิดเห็นในเชิงสนับสนุน
          การพูดแสดงความคิดเห็นในลักษณะดังกล่าวเป็นการพูดเพื่อสนับสนุน ความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งผู้พูดอาจจะพิจารณาแล้วแล้วว่า ความคิเห็นที่ตน สนับสนุนมีสาระและประโยชน์ต่อหน่วยงานและส่วนรวม หรือถ้าเป็นการ แสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการจะต้องเป็นความคิดเห็นที่เป็นองค์ความรู้สัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง
ที่กำลัง พูดกันอยู่ ทั้งในระหว่างบุคคลในที่ประชุม เช่น การพูดในที่ประชุม การอภิปราย การแสดงปาฐกถา เป็นต้น

      . การพูดแสดงความคิดเห็นในเชิงขัดแย้ง
           การพูดลักษณะดังกล่าวเป็นการพูดแสดงความคิดเห็นในกรณีที่ มีความคิด ไม่ตรงกันและเสนอความคิดอื่น ๆ ที่ไม่ตรงกับผู้อื่นการพูดแสดงความคิดเห็น ขัดแย้งดังกล่าว ผู้พูดควรระมัดระวังเรื่องการใช้ภาษา และการนำเสนอ ความขัดแย้งควรไปในเชิงสร้างสรรค์ อันจะก่อประโยชน์  ต่อหน่วยงาน หรือสาธารณชน เช่น การสัมมนาเชิงวิชาการ การอภิปราย และการประชุม        
๓. การพูดแสดงความคิดเห็นในเชิงวิจารณ์ เป็นการพูดเพื่อวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง    ซึ่งผู้วิจารณ์อาจจะแสดงความคิดเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยและวิจารณ์ในเชิงสร้างสรรค์ผู้วิจารณ์จะต้องวางตัว
   เป็นกลาง ไม่อคติต่อผู้พูดหรือสิ่งที่เห็น เช่น การแสดงความคิดเห็นต่อหนังสือเพลง ละคร โทรทัศน์ ภาพยนตร์เป็นต้น
        ๔. การพูดแสดงความคิดเห็นเพื่อนำเสนอความคิดใหม่ เป็นการพูดในกรณีที่ไม่เห็นด้วยกับการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น และนำเสนอความคิดเห็นใหม่ของตนที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  เช่น การแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม เป็นต้น







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น