WELCOME TO BLOG MOOK CLUB.

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การเขียนสะกดคำ

ความหมายของการเขียนสะกดคำ
                นักการศึกษาได้ให้ความหมายของการเขียนสะกดคำไว้ดังนี้
เว็บสเตอร์(Webster) กล่าวว่า การเขียนสะกดคำคือศิลปะหรือเทคนิคในการสร้างคำโดยใช้อักษรตามแบบที่สังคมยอมรับ
                อดุลย์ ไทรเล็กพิม (2528 : 63) ได้ให้ความหมายของการสะกดคำว่า เป้นการเขียนโดยเรียงลำดับ พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ รวมทั้งตัวสะกดการันต์ ภายในคำหนึ่ง ๆ ได้ถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน
                อรพรรณ ภิญโญภาพ (2529 : 14) ได้อธิบายว่า การเขียนสะกดคำ เป้นการฝึกทักษะการเขียนให้ถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานแก่ผู้เรียน และจะต้องให้ผู้เรียนเข้าใจขบวนการประสมคำ รู้หลักเกณฑ์ที่จะเรียบเรียงลำดับตัวอักษรในคำหนึ่ง ๆ ให้ได้ความหมายที่ต้องการ เพื่อจะนำประโยชน์ไปใช้ในการสื่อสาร

                จากความหมายของการเขียนสะกดคำที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่า การเขียนสะกดคำ หมายถึง การเขียนโดยเรียงลำดับพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และตัวสะกดเป็นคำได้อย่างถูกหลักเกณฑ์ และถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน เพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้ถูกต้อง

                ความสำคัญของการเขียนสะกดคำ
                การเขียนสะกดคำให้ถูกต้อง มีความสำคัญในเรื่องการสื่อความหมายหากเขียนสะกดผิดพลาด จำทำให้การสื่อความหมายผิดเพี้ยนไป เข้าใจไม่ตรงกัน ความสำคัญของการสะกดคำได้มีนักการศึกษาให้ความหมายสำคัญดังต่อไปนี้
                วัฒนา บุรกสิกร ได้กล่าวถึงความสำคัญของการสะกดคำไว้ในเอกสารประกอบคำบรรยายการใช้ภาษาไทยเรื่อง วิธีใช้ภาษาไทยว่า เรื่องของการเขียน ตัวสะกด เป็นเรื่องสำคัญมากต้องระมัดระวังเป็นที่สุด เพราะการเขียนสะกดผิด นอกจากจะผิดหลักอักขรวิธีแล้ว ยังทำให้สื่อความหมายที่เข้าใจกันไม่ได้อีกด้วย                บุปผา บุญทิพย์ กล่าวถึงความสัมพันธ์ของการเรียนการสอนสะกดคำในเรื่องความรู้ทั่วไปทางภาษาไทยตอน 2 การใช้ภาษาไทยว่า การเขียนสะกดคำถือว่าเป็นการสื่อสารด้วยการเขียน ถ้าเขียนสะกดคำผิดพลาด การสื่อสารจะไม่ชัดเจน ผู้รับสารจะไม่เข้าใจ หรือทำให้เข้าใจผิด การเขียนคำให้ถูกต้องตามอักขรวิธีจึงต้องฝึกฝนและระมัดระวังอย่าละเลย                นิตยา กาญจนะวรรณ, เสาวลักษณ์ อนันตศานต์และ ทิพย์สุเนตร อนัมบุตร กล่าวถึงความสำคัญของการเขียนสะกดคำในเรื่องลักษณะและการใช้ภาษาไทยว่าการเขีนสะกดคำเป็นเรื่องสำคัญในการสื่อภาษาเขียน ถ้าเขียนผิดย่อมทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไป
การเขียนสะกดคำเป็นเรื่องสำคัญ ดังที่นักการศึกษาได้กล่าวไว้ข้างต้น ครูจึงควรฝึกให้นักเรียนเขียนสะกดคำให้ถูกต้องเพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการเขียน

                สาเหตุที่ทำให้เขียนสะกดคำผิด
                หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวถึงสาเหตุของการเขียนสะกดคำผิดไว้ในคู่มือครูภาษาไทยว่า เขียนสะกดคำผิดเป็นเพราะดังนี้
                1)
ใช้แนวเทียบผิด
                2)
ไม่สนใจในการเขียนว่าจะผิดหรือถูก
                3)
ไม่ได้ศึกษาว่าคำใดเขียนอย่างไรจึงถูก เวลาสงสัยก็ไม่เคยใช้พจนานุกรม จึงไม่มีโอกาส ได้จดจำคำที่ถูกตามพจนานุกรมไว้ใช้
                4)
มีการแก้ไขภาษาและพจนานุกรมที่ทำให้นักเรียนกำหนดแบบอย่างที่ถูกต้องได้ยาก
                5)
ขาดการฝึกโดยเฉพาะในการเขียนตามคำบอก
                6)
เห็นแต่แบบแผนที่ไม่ถูกต้องตลอดเวลา
                7)
ขาดความรู้ในเรื่องรูปศัพท์เดิม
                สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ กล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้นักเรียนเขียนสะกดคำไว้ในหลักภาษาไทยว่า
                                1)
เขียนผิดเพราะไม่ทราบความหมายของคำ เช่น ครุภัณฑ์ เขียนเป็น ครุพัน  
บิณฑบาต เขียนเป็นบิณฑบาตร์ เป็นต้น
                                2)
เขียนผิดเพราะใช้แนวเทียบผิด เช่น จำนง เขียนเป็นจำนงค์ เพราะเทียบกับคำว่า
องค์ ดอกจัน เขียนเป็นดอกจันทร์ เพราะเทียบกับคำว่าดวงจันทร์


                3) เขียนผิดเพราะออกเสียงผิด เช่น กรวดน้ำ เป็นตรวจน้ำ เพราะออกเสียงอย่างนั้น
หยิบหย่ง เป็น หยิบโหย่ง
                                4)
เขียนผิดเราะมีประสบการณ์มาผิด เช่น คำว่าประณีต เขียนเป็นปราณีต เพราะจำ
มาจากหนังสือพิมพ์
                                5)
เขียนผิดเพราะไม่รู้หลักภาษา เช่น เขียนคำสมาสคำว่าธุรกิจ เป็นธุรกิจ

                วิธีสอนการเขียนสะกดคำ
                การเขียนสะกดคำ เป็นทักษะที่ต้องอาศัยการสังเกต การจดจำอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้น ในการจัดการเรียนการสอนจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนจะต้องคำนึงถึงการจัดกิจกรรมการสอนให้กับนักเรียนในลักษณะแตกต่างกันตามความเหมาะสมกับวัยและความสามารถของนักเรียนแต่ละคน เพื่อให้นักเรียนมีความสนใจและตั้งใจพยายามฝึกฝนทักษะการเขียนให้ดียิ่งขึ้น ในการสร้างแบบฝึกการเขียนสะกดคำยาก จึงต้องอาศัยแนวทางวิธีสอนมาจากเอกสารต่าง ๆ ดังนี้
                อัจฉรา ชีวพันธ์ ได้เสนอแนะวีสอนการเขียนสะกดคำในระดับประถมศึกษา ในเรื่อง ศาสตร์ของการสอนภาษาไทยว่า
                                1)
ต้องจัดอย่างมีลำดับขั้นตอน เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องเพราะ
ภาษาไทยเป็นทักษะที่จะต้องมีการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญสามารถใช้ได้อย่างถูกต้อง
คล่องแคล่ว ดังนั้นกิจกรรมที่จัดขึ้น จัดให้นักเรียนได้ฝึกทักษะจากสิ่งง่ายไปหายาก
                                2)
ควรจัดให้สอดคล้องและเหมาะสมกับวัย ความสามารถและความต้องการของ
นักเรียน นักเรียนในระดับประถมศึกษามีความต้องการความสำเร็จครูผู้สอนควรคำนึงถึง
การจัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนประสบความสำเร็จมากกว่าล้มเหลว เช่น การจัดแข่งขัน
เขียนคำศัพท์ ควรจัดกิจกรรมแข่งขันเขียนเป็นหมู่ รู้จักให้ความช่วยเหลือกัน
                3)
การจัดกิจกรรมการสอนจะต้องให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการแสดงออกอย่างทั่วถึง เช่นให้นักเรียนออกมาแข่งขันเขียนคำศัพท์ในกระดาน ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันออกมาร่วมกิจกรรม การได้รับโอกาสโดยเท่าเทียมกันจะทำให้เขาได้เสนอแนะวิธีแก้ไขข้อบกพร่องในการเขียนไว้ในคู่มือครูภาษาไทยว่า

                (1)
แก้ที่ตัวเด็ก
                ก. ให้มีโอกาสฝึกทักษะให้มากขึ้น และสม่ำเสมอทั้งในการเขียนตัวสะกด และครูควรจะได้ตรวจตรวจแก้ให้ทุกครั้ง
                ข. ให้นักเรียนที่เรียนอ่อนได้รับการช่วยเหลือเป็นพิเศษ ส่วนเด็กที่มีความสามารถก็ควรได้รับการส่งเสริม
                (2)
แก้ที่สิ่งแวดล้อม
                ก. ครูภาษาไทยซึ่งต้องรับผิดชอบโดยตรง ควรมีทัสนคติที่ดีต่อภาษาไทย และเป็นผู้ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ และมีวิธีส่งเสริมให้นักเรียนสนใจ
                ข. ครูทุกวิชาให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจัง ไม่ปล่อยให้ข้อบกพร่องอันเกี่ยวกับภาษาไทยของนักเรียนผ่านไปโดยไม่ทักท้วง
                ค. ครูทุกคนควรเป็นตัวอย่างในการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง
                ง. การใช้หลักสูตร ควรสร้างความสัมพันธ์ระหว่างวิชาภาษาไทยกับวิชาอื่น ทั้งนี้เพื่อให้ใช้ภาษาเป็นประโยชน์ในการเรียนทุกวิชา

                บันลือ พฤกษะวัน ได้เสนอแนะกิจกรรมในการสอนเขียนสะกดคำในเรื่องอุปเทศการสอนภาษาไทย ระดับประถมศึกษา แนวบูรณาการทางการสอน สรุปได้ดังนี้
การสอนเขียนแบบให้เห็นรูปคำก่อน การสอนเขียนแบบนี้มุ่งให้เด็กฝึกเขียนคำใหม่ในบทเรียนให้แม่นยำยิ่งขึ้น และยังมุ่งให้เข้าใจความหมายของคำในรูปประโยค ซึ่งจะช่วยให้เกิดประโยชน์ที่ผู้เรียนได้เห็นรูปแบบของประโยค โดยครูเขียนข้อความที่ต้องการจะฝึกโดยมีคำใหม่ในบทเรียนที่เด็กอ่าน หรืออาจใช้วิธีจัดทำเป็นแผนภูมิประสบการณ์ ประมาร 5 - 6 ประโยค แล้วแต่จะเห็นสมควร เช่น ครูเขียนข้อความดังต่อไปนี้
                นายอำเภอเป็น(ข้าราชการ)ในอำเภอ
                นายอำเภอเป็นคนของรัฐบาล
                เขามีหน้าที่ดูแล(ทุกข์สุข)ของ(ประชาชน)
                นายอำเภอขอ(ความร่วมมือ)กับข้าราชการทุกฝ่าย
                ข้าราชการควร (สนับสนุน)ให้ประชาชน(สามัคคี)กันทุกคนต้องช่วยกันทำความดี เพื่อ(ชาติ) (ศาสนา)และ(พระมหากษัตริย์)ของเรา






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น