WELCOME TO BLOG MOOK CLUB.

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การเขียนเรียงความ

เรียงความ คือการใช้ศิลปะทางการเขียนร้อยแก้วแสดงความรู้สึกนึกคิด จินตนาการ

และความเข้าใจของผู้เขียนอย่างสละสลวย       เรียงความจะต้องประกอบด้วยส่วนที่เป็นคำนำ 

 เนื้อเรื่อง  และสรุป 

เรียงความที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

               มีเอกภาพ คือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หมายความว่าไม่ให้เขียนนอกเรื่อง

               มีสัมพันธภาพ คือ ความสัมพันธ์กัน หมายถึง ข้อความแต่ละข้อความหรือแต่ละย่อหน้า

จะต้องมีสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน

               มีสารัตถภาพ คือ การเน้นสาระสำคัญของย่อหน้าแต่ละย่อหน้า และของเรื่องทั้งหมด

โดยใช้ประโยคสั้น ๆ สรุปกินความทั้งหมด



ขอเพิ่มเติมเป็นการส่วนตัวค่ะ

                ก่อนเขียนเรียงความนั้นจะต้องตีโจทย์ให้แตกว่า ชื่อเรื่องที่เขาให้มานั้น หมายถึงอะไร

เกี่ยวโยงกับอะไร ข้อมูลที่จะเขียนลงไปนั้นต้องถูกต้องชัดเจน ดังนั้นผู้เขียนจะต้องรู้ชัดรู้จริง



การเขียนคำนำ

         เป็นการเกริ่นเรื่อง ขอย้ำว่าแค่เกริ่นนะคะอย่าลึก ใช้คำโอบความหมายกว้างๆ เช่น

เรียงความเรื่องแม่ของฉัน      ควรกล่าวถึงแม่โดยทั่วไปก่อน เขียนให้กินใจ น่าอ่าน น่าติดตาม

แต่ยังไม่ควรเล่าว่า " แม่ของฉัน "เป็นอย่างไร



เนื้อเรื่อง


         เนื้อเรื่องเป็นส่วนที่มีใจความสำคัญ ประเด็นสำคัญตามห้วข้อ ดังนั้นจะต้องเขียนให้ละเอียด

ครอบคลุม ชัดเจน   เช่น เรื่องแม่ของฉัน ในย่อหน้าเนื้อเรื่องให้พรรณนาถึงพระคุณแม่

( เขียนในด้านบวก )



สรุป


         กลับไปอ่านคำนำและเนื้อเรื่องและสรุปจบให้ไปในทิศทางเดียวกัน ขอแนะนำว่า ควรให้

ข้อแนะนำ หรือแนวคิดดีๆ แล้วลงท้ายด้วยประโยคที่น่าสนใจ


          การเขียนเรียงความนั้นอาจจะขึ้นต้นย่อหน้าคำนำ หรือปิดท้ายในหัวข้อสรุป ด้วย กลอน

คติพจน์ วาทะ หรือคำขวัญ     เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้น่าติดตาม ( ถ้ายืมคำใครเขามาอย่าลืมอ้างอิง

นะคะ )     ภายในเรียงความควรประกอบด้วยโวหารหลายๆชนิด เพื่อให้ได้อรรถรสในการอ่าน  ขั้นตอน

ในการเตรียมตัวเขียน นอกจากจะต้องเตรียมข้อมูลจัดทำโครงเรื่องแล้ว ควรเลือกใช้สำนวนโวหารให้

เหมาะกับเนื้อความที่ จะเขียน สำนวนโวหารในภาษาไทย แบ่งออกเป็น ๕ คือ

๑) บรรยายโวหาร

๒) พรรณนาโวหาร

๓) เทศนาโวหาร

๔) สาธกโวหาร

๕) อุปมาโวหาร   

              ๑. บรรยายโวหาร คือ โวหารที่ใช้เล่าเรื่อง หรืออธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ตามลำดับเหตุการณ์

การเขียนบรรยายโวหารจะมุ่งความชัดเจน เขียน ตรงไปตรงมา รวบรัด กล่าวถึงแต่สาระสำคัญ

ไม่จำเป็นต้องมีพลความ หรือความปลีกย่อยเสริม ในการเขียนทั่ว ๆ ไปมักใช้บรรยายโวหาร เพราะ

เหมาะในการติดต่อสื่อสารเนื่องจากสำนวนประเภทนี้มุ่งสาระเขียนอย่างสั้น ๆ ได้ความชัดเจน


             ๒. พรรณนาโวหาร มีจุดมุ่งหมายในการเขียนต่างจากบรรยายโวหาร คือมุ่งให้ความแจ่มแจ้ง

 ละเอียดลออ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ซาบซึ้งเพลิดเพลินไปกับข้อความนั้นการเขียนพรรณาโวหารจึง

ยาวกว่าบรรยายโวหารมาก แต่มิใช่การเขียนอย่างเยิ่นเย้อ เพราะพรรณนา-โวหารต้องมุ่งให้ภาพ

และอารมณ์ ดังนั้น จึงมักใช้การเล่นคำ เล่นเสียง ใช้ภาพพจน์แม้เนื้อความที่เขียนจะน้อยแต่เต็มไป

สำนวนโวหารที่ไพเราะ อ่านได้รสชาติ


                ๓. เทศนาโวหาร หมายถึง โวหารที่มีจุดหมายแสดงความแจ่มแจ้งเพื่อให้ผู้อ่านคล้อยตาม

หรืออาจกล่าวได้ว่ามุ่งชักจูงให้ผู้อ่านคิดเห็นหรือคล้อยตามความคิดเห็นของผู้เขียนเทศนาโวหาร

จึงยากกว่าโวหารที่กล่าว



               ๔.สาธกโวหาร คือ โวหารที่มุ่งให้ความชัดเจน โดยการยกตัวอย่างเพื่ออธิบายให้แจ่มแจ้ง

หรือสนับสนุนความคิดเห็นที่เสนอให้หนักแน่น น่าเชื่อถือ สาธกโวหารเป็นโวหารเสริม บรรยายโวหาร

 พรรณนาโวหาร

              ๕.อุปมาโวหาร หมายถึง โวหารเปรียบเทียบ โดยกตัวอย่าง สิ่งที่คล้ายคลึงกันมาเปรียบ

เพื่อให้เกิดความชัดเจนด้านความหมาย ด้านภาพ และเกิดอารมณ์ ความรู้สึกมากยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่า

อุปมาโวหาร คือ ภาพพจน์ประเภทอุปมานั่นเอง อุปมาโวหารใช้เป็นโวหารเสริม บรรยายโวหาร

พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร เพื่อให้ชัดเจนน่าอ่าน โดยอาจเปรียบเทียบอย่างสั้น ๆ หรือ

เปรียบเทียบอย่างละเอียดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปมา โวหารนั้นจะนำไปเสริมโวหารประเภทใด

               การเขียนเรียงความที่ดีนั้นควรตีกรอบความคิดของผู้เขียนเอาไว้อย่างชัดเจน  เพราะจะทำให้

งานเขียนไม่วกวน จนผู้อ่านเกิดความสับสนทางความคิด   และที่สำคัญเรียงความจะต้องใช้ภาษา

อย่างเป็นทางการ  อย่าใช้ภาษาพูดเป็นอันขาดเพราะจะทำให้งานเขียนขาดความน่าเชื่อถือ

ประวัติอักษรไทย


<><><><><> <><><><><> <>
กำเนิดแบบอักษรไทย  
          ท่านผู้รู้นักประวัติศาสตร์หลายท่าน คาดกันว่า เริ่มจากแบบอักษรคฤนถ์ของอินเดียใต้ ได้ถูกนำมาดัดแปลงเป็นอักษรขอม อักษรขอมนี้นำมาเขียนภาษาบาลี สันสกฤตได้สะดวก แต่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเห็นว่าการนำมาเขียนเป็นภาษาไทยนั้นไม่สะดวก เพราะไม่มีวรรณยุกต์เป็นเครื่องหมายกำหนดเสียงสูงต่ำและมีสระน้อย ไม่เพียงพอจะเขียนภาษาไทยได้ตามต้องการ  พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริแก้ไขแบบอักษรเสียใหม่ให้เป็นลักษณะอักษรไทย (ซึ่งถ้าสังเกตถ้อยคำในศิลาจารึก จะเห็นคำว่า "นี้" อยู่ต่อคำว่า "ลายสือ" ทุกแห่ง คงจะมีความหมายว่าตัวอักษรแบบนี้ยังไม่เคยมี)   พระองค์ทรงแก้รูปตัวอักษรให้เขียนได้รวดเร็วกว่าอักษรขอม ทั้งสระและพยัญชนะก็จะเขียนอยู่ในบรรทัดเดียวกัน   
          แม้ว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชจะมิได้เป็นผู้ทรงประดิษฐ์รูปอักษรขึ้นโดยพระองค์เองก็ตาม (๑)  การที่พระองค์ทรงแก้ไขตัวอักษรเสียใหม่ในสมัยกรุงสุโขทัยนั้น นับเป็นการสำคัญ เป็นการพัฒนาต่อยอดทางความคิด คือ การนำภูมิความรู้ทั้งหลายที่มีอยู่เดิมในขณะนั้นมาพัฒนาให้เกิดความเหมาะสม ให้มีความสะดวกในการจารึกและอ่าน อีกทั้งเสียงที่ใช้นั้นก็มีความครบถ้วนตามลักษณะเสียงที่ใช้ในภาษาไทย  สิ่งนี้นับเป็นคุณประโยชน์อย่างมหาศาล เป็นวิวัฒนาการ อันทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางความรู้และวิทยาการในสมัยนั้นเป็นอย่างยิ่ง     แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยะภาพในเชิงภาษาศาสตร์และความเป็นนักปราชญ์ของพระองค์     
          ครั้นล่วงรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว จะเป็นระยะเวลานานเท่าใดไม่ปรากฏแน่ชัด มีผู้แก้ไขกลับไปใช้คุณลักษณะบางอย่างตามแบบหนังสือขอม ซึ่งมีสระอยู่ข้างหน้าพยัญชนะบ้าง อยู่ข้างหลังพยัญชนะบ้าง อย่างเช่นใช้ในแบบหนังสือไทยมาจนทุกวันนี้ 
          ตัวอักษรไทยที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงคิดค้นขึ้นนี้ ได้มีผู้นำไปใช้กันแพร่หลายต่อไปในประเทศใกล้เคียงในสมัยนั้น  เช่น ในล้านช้าง ล้านนา และประเทศข้างฝ่ายใต้ของอาณาจักรสุโขทัย คือ กรุงศรีอยุธยา   
ลักษณะของตัวอักษรไทย  

สระ ๒๐ ตัว

วรรณยุกต์ ๒ รูป  ตัวเลข ๖ ตัว

พยัญชนะ ๓๙ ตัว
          ท่านผู้รู้บางท่านได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการประดิษฐ์ตัวอักษรไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชอีกนัยหนึ่งว่า จากการดูที่เหตุผลแวดล้อม พยัญชนะไทยน่าจะมีครบทั้ง ๔๔ ตัวตั้งแต่ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว  ทางขอมได้ภาษาบาลี-สันสกฤตเป็นครู มีพยัญชนะจำนวน ๓๓ ตัวเท่ากับภาษาบาลี  พ่อขุนรามคำแหงได้แบบอย่างจากขอมและอินเดีย ครั้งแรกนั้นคงเป็นพยัญชนะ ๓๔ ตัว (ตัดนิคหิต ออก ๑ ตัว แต่พระองค์ได้นำมาใช้แทนตัว ม อย่างสันสกฤตและขอม) ต่อมาพระองค์อาจจะทรงคิดค้นเพิ่มเติมอีก ๑๐ ตัว ที่เรียกว่า "พยัญชนะเติม" เพื่อให้เสียงพอใช้ในภาษาไทย  
          พยัญชนะเติม ๑๐ ตัวคือ ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ อ ฮ     จะเห็นว่าพยัญชนะเหล่านี้ได้เพิ่มเข้ามาจากพยัญชนะวรรคมีเสียงที่พ้องกัน เช่น 
                    ฃ พ้องเสียงกับ ข  
                    ฅ พ้องเสียงกับ ค   
          ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนั้น ตัวอักษรนี้คงออกเสียงเป็นคนละหน่วยเสียงกัน  แต่ ฃ กับ ฅ คงจะออกเสียงได้ยากกว่า เราจึงรักษาเอาไว้ไม่ได้ มีอันต้องสูญไปอย่างน่าเสียดาย (๒)  เหตุผลคือ ถ้าเป็นหน่วยเสียงเดียวกัน พระองค์จะไม่ทรงคิดเสียงซ้ำกัน  เช่นนั้น ฃ กับ ข และ ฅ กับ ค จึงน่าจะเป็นคนละหน่วยเสียงกันเช่นเดียวกับภาษาบาลี สันสกฤต ที่ออกเสียงพยัญชนะวรรคตะ ต่างกับเสียงพยัญชนะวรรคฏะ  แต่เมื่อเรารับเข้ามาใช้ เราออกเสียงอย่างเขาไม่ได้ เราจึงออกเสียงเหมือนกัน เช่นเดียวกับ ตัว ส,ษ,ศ ก็เช่นเดียวกัน เขาออกเสียงต่างกันแต่เราออกเสียงเหมือนกันหมด  เสียงใดที่ออกยากย่อมสูญได้ง่าย    
สิ่งที่น่าเป็นห่วง
          ตามคำกล่าวข้างต้น เสียงที่น่าเป็นห่วงในปัจจุบัน เช่น
  • เสียง "ร" เพราะออกเสียงได้ยากกว่าเสียง "ล" นักเรียนในปัจจุบันมักจะออกเสียง "ร" ไม่ค่อยได้เพราะต้องกระดกลิ้น  
  • เสียง "ท" ที่ปัจจุบันมีผู้นิยมออกเป็นเสียง "ธ" ตามอย่างนักร้องที่มักออกเสียง "ท" เป็นเสียง "ธ" 
          ปัจจุบันนี้ เราหาผู้เชี่ยวชาญในการออกเสียงให้มีความชัดเจนแตกต่างจากกัน เพื่อเป็นผู้สอนการออกเสียงให้แก่นักเรียนนักศึกษาได้ยาก  จึงเป็นที่น่าห่วงว่าหากเราไม่ช่วยกันอนุรักษ์การออกเสียงเหล่านี้เอาไว้ สักวันหนึ่งเสียงต่างๆ เหล่านี้อาจจะสูญไปได้เช่นเดียวกัน 

(๑) หนังสือพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และรวมเรื่องเมืองสุโขทัย กรมศิลปากร
(๒) เลิกใช้เมื่อปีพระพุทธศักราช ๒๔๗๐ ต่อมาเกิดพจนานุกรมฉบับ ปีพระพุทธศักราช ๑๓๙๓ จึงได้ประกาศเลิกใช้อย่างเป็นทางการ
 









ความสำคัญของการเรียนวรรณคดีไทย

กำเนิดวรรณคคี
          วิทย์  ศิวศริยานนท์  กล่าวว่า  วรรณคดีเป็นสิ่งที่มีอยู่ในสันดานของมนุษย์ตลอดเวลา  เช่นเดียวกับศิลปะอื่น ๆ มนุษย์มีศิลปะทุกยุคทุกสมัย  และศิลปะไม่ใช่การเล่นฆ่าเวลา  วรรณคดีเกิดขึ้นได้เสมอในสภาวการณ์ต่าง ๆ และอาจจะมีมูลเหตุมาจากอารมณ์เพศ  ศาสนา  การเล่น  หรืองานก็ได้  ขึ้นอยู่กับทัศนะของแต่ละบุคคล หรือแต่ละความเชื่อ
          พิชิต  อัคนิจ  กล่าวว่า  ตำนานกำเนิดวรรณดคีของชาติต่าง ๆ อาทิ ตำนานกรีก  ตำนานสันสกฤต  ตำนานจีน เป็นต้นเค้าของทฤษฎีการกำเนิดวรรณคดีในสมัยปัจจุบัน  เพราะมูลเหตุที่ทำให้เกิดวรรณคดีตามหลักวิชาการสมัยใหม่ที่นำมากล่าวไว้ต่อไปนี้  ก็ล้วนมีสาระอิงตำนานที่กล่าวไว้แล้วแทบทั้งสิ้น  คือ
๑.      เกิดจากการนับถือวีรชน  เช่น  เรื่องรามายณะ  มหาภารตะ  ลิลิตยวนพ่าย  ลิลิตตะเลงพ่าย  เป็นต้น
๒.      เกิดจากความเชื่อทางศาสนา  ศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจ  ศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและเป็นสิ่งบันดาลใจให้เกิดวรรณคดีได้  เช่น  เรื่องมหาชาติคำหลวง  ไตรภูมิพระร่วง  ปฐมสมโพธิกถา  และอื่น ๆ
๓.      เกิดจากอารมณ์  อารมณ์ที่เกิดเอง  ไม่คล้อยตามผู้อื่น  เช่น  อารมณ์รัก  โกรธ  โศก  เป็นมูลเหตุให้เกิดวรรณคดีไทย  เช่น  เรื่องมัทนะพาธา  กามนิต  อติรูป  และอื่น ๆ
๔.      เกิดจากความกลัวภัย  โดยเฉพาะภัยธรรมชาติ
๕.      เกิดจากการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม  การไปมาหาสู่ระหว่างสังคมต่าง ๆ ก็มีส่วนทำให้เกิดวรรณคดีด้วย  เช่น  นิราศลอนดอน  นิราศกวางตุ้ง  และอื่น ๆ

ความสำคัญของการเรียนประวัติวรรณคดี
            เนื่องจากวรรณคดีส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจที่ผู้แต่งมีต่อสภาพและเหตุการณ์แวดล้อมในยุคสมัยของผู้แต่ง  เช่น มีความชื่นชมในวีรกรรม  ความสามารถหรือบุญบารมีของบุคคลสำคัญก็แต่งเรื่องประเภทสดุดี  ถ้ามีความเลื่อมใสศรัทธาในศาสนาก็แต่งเรื่องธรรมะและชาดก  ถึงแม้วรรณคดีที่เกิดจากความสะเทือนใจส่วนตัวของ  ผู้แต่งเอง  ผู้แต่งก็มักสร้างเนื้อหาและฉากของเรื่องขึ้นจากสิ่งที่ผู้แต่งประสบพบเห็นเป็นส่วนมาก  นอกจากรูปแบบ คำประพันธ์  ประเภท  และสาระสำคัญของเรื่องมักเป็นไปตามคตินิยมของสังคมในสมัยที่แต่ง เพราะฉะนั้นการอ่านวรรณคดีให้ได้คุณค่าที่แท้จริง  จำเป็นต้องเรียน   วรรณคดีในเชิงประวัติ หรือประวัติวรรณคดีประกอบด้วย  การเรียนประวัติวรรณคดี พิจารณาถึงประเด็นสำคัญของวรรณคดีในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑.      ผู้แต่ง  รวมถึงชีวประวัติและผลงาน
๒.      ที่มาของเรื่อง  ได้แก่  เรื่องที่เป็นต้นเค้า  อาจเป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ภายในประเทศ หรือที่ได้รับ
อิทธิพลจากต่างประเทศ

๓.      ความมุ่งหมายในการแต่ง ได้แก่ แรงบันดาลใจหรือความมุ่งหมายของผู้แต่งในการแต่งวรรณคดีนั้น ๆ
๔.      วิวัฒนาการและความสัมพันธ์ต่อเนื่องระหว่างวรรณคดีแต่ละสมัย
๕.      สภาพสังคมในสมัยที่แต่ง  ซึ่งได้แก่  วัฒนธรรม  สภาพสังคม  และเหตุการณ์ของบ้านเมืองในระยะเวลาที่แต่ง
๖.      อิทธิพลที่วรรณคดีมีต่อสังคมทั้งในสมัยที่แต่งและในสมัยต่อมา
ดังนั้น  การศึกษาประวัติวรรณคดี  ทำให้ทราบที่มาของวรรณคดีแต่ละเรื่องว่าเกิดขึ้นอย่างไร  มีแรง
บันดาลใจอะไร  แต่งในสมัยใด  ใครเป็นผู้แต่ง  อิทธิพลของเหตุการณ์บ้านเมืองที่มีต่อวรรณคดี  และอิทธิพลของ  วรรณคดีที่มีต่อสังคมไทยในแต่ละยุคสมัย

ประโยชน์ของการเรียนประวัติวรรณคดี
            เนื่องจากการเรียนประวัติวรรณคดีมีลักษณะเป็นการเรียนรู้ที่มา  และสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปของวรรณคดี  การเรียนประวัติวรรณคดีจึงให้ประโยชน์หลายประการ  ดังนี้
๑.      ช่วยเพิ่มความเข้าใจและความซาบซึ้งในคุณค่าของวรรณคดี
๒.     ได้ความรู้เกี่ยวกับภาษาและลักษณะอักขรวิธีสมัยต่าง ๆ        
๓.      ได้ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับต่างประเทศสมัยต่าง ๆ
๔.      ได้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม  สภาพสังคม และเหตุการณ์บ้านเมือง  ควบคู่กันไปกับวิวัฒนาการของวรรณคดีในสมัยต่าง ๆ









แหล่งข้อมูล :
            ประพันธ์  เรืองณรงค์และคณะ. กลุ่มสาระภาษาไทย ช่วงชั้นที่ ๔(ม. ๔-๖).  กรุงเทพมหานคร :
ประสานมิตร, ๒๕๔๖.
            พิชิต  อัคนิจ. วรรณกรรมไทยสมัยสุโขทัย – กรุงศรีอยุธยา. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, ๒๕๓๖.
            ฐะปะนีย์  นาครทรรพและคณะ. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระภาษาไทย  ภาษาไทย
ม.๔ เล่ม ๑. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์, ๒๕๔๖.
เสนีย์  วิลาวรรณและคณะ. ประวัติวรรณคดี ๑. กรุงเทพมหานคร : วัฒนาพานิช, ๒๕๔๒.

การแต่งคำประพันธ์และบทร้อยกรอง

หลักการแต่งคำประพันธ์ประเภทต่าง ๆ
     คำประพันธ์หรือร้อยกรอง คือ การนำถ้อยคำมาเรียบเรียงให้เป็นระเบียบ ตามที่บัญญัติ
ไว้ในตำราว่าด้วยการแต่งโคลง ฉันท์ กลอน และร่าย ตำราดังกล่าวนี้ เรียกว่า “ฉันทลักษณ์”
     ภาษาไทยมีบทร้อยกรองหลายชนิดซึ่งมีรูปแบบและวิธีการประพันธ์แตกต่างกัน บทร้อยกรองมีความไพเราะและเป็นที่ชื่นชอบถูกต้องกับนิสัยของคนไทยมาแต่โบราณ
จนกล่าวกันว่า “นิสัยของคนไทยเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน”
     คำประพันธ์หรือบทร้อยกรองมีหลายประเภท แต่ละประเภทก็จะมีแบบฉบับการแต่ง เป็นลักษณะเฉพาะของคำประพันธ์นั้น ๆ จึงควรที่จะต้องรู้หลักการแต่งกันเสียก่อน

หลักการแต่งคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง
     การแต่งคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองให้ดีนั้น เป็นเรื่องที่สอนกันได้ยาก เนื่องจาก
คำประพันธ์มีความประณีต สุขุม ลึกซึ้ง แต่มีหลักเกณฑ์พอที่จะเสนอแนะในการแต่ง ดังนี้
     ๑. คำไทย การแต่งคำประพันธ์ที่ดีที่สุดก็คือ การแต่งให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องโดยแจ่มแจ้ง
กระจ่างชัด ในการบรรยายก็ดี ในการพรรณนาก็ดี ให้ใช้คำพูดง่าย ๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจ
ชัดเจน ไม่ควรใช้ศัพท์สูงที่อ่านเข้าใจยาก
     ๒. เสียง เสียงต้องใช้คำที่เหมาะต่อการดำเนินเรื่อง เช่น เศร้าโศก ควรใช้ลีลาของคำ
เชื่องช้า เรื่องตื่นเน้น ควรใช้ลีลา รวดเร็ว กระชับ การชมธรรมชาติควรใช้ถ้อยคำที่นุ่มนวล
อ่อนหวาน ยกตัวอย่าง เช่น

     ชมธรรมชาติ (กาพย์พระไชยสุริยา)


          ยูงทองร้องกระโต้งโห่งดังเพียงฆ้องกลองระฆัง
     แตรสังข์กังสดาลขานเสียงพญาลอคล้อเคียง
          กะลิงกะลางนางนวลนอนเรียงพญาลอคล้อเคียง
     แอ่นเอี้ยงอีโก้งโทงเทง
          ฆ้อนทองเสียงร้องป๋องเป๋งเพลินฟังวังเวง
     อีเก้งเริงร้องลองเชิง
          ฝูงละมั่งฝังดินกินเพลิงคางแข็งแรงเริง
     ยืนเบิ่งบึ้งหน้าตาโพลง
          ป่าสูงยูงยางช้างโขลง อึงคนึงผึงโผง
     โยงกันเล่นน้ำคล้ำไป

     ๓. การวางคำ การวางคำให้เหมาะสมถือว่าเป็นศิลปะในการประพันธ์ชั้นสูง การแต่ง คำประพันธ์จึงมีความจำเป็นต้องเลือกถ้อยคำที่มีความหมายและเหมาะสมจริง ๆ ยกตัวอย่างชูชกตวาดสองกุมารในเวสสันดรชาดกตอนหนึ่ง ดังนี้
     เฒ่าก็ดีดนิ้วมือดังทะถับทะถับ ร้องสำทับด้วยวาจา อเปหิ ฮ้าเฮ้ย เด็กน้อยถอยขยาย เสือร้ายจะเดินทางอย่าเข้ามาขวางจังหวะทำโว้เว้ เหม่ ออนี่หนักหน้าชี้ตาไม่กะพริบเลย
     ๔. การบรรยายภาพ การบรรยายภาพต้องบรรยายให้คล้อยตามอารมณ์ของบุคคล ภาพต้องเหมาะกับภูมิประเทศขนบธรรมเนียมประเพณี  ความเป็นอยู่ท้องถิ่น และภาษา ของท้องถิ่น
     ๕. ความแจ่มชัด ความแจ่มชัดเป็นลักษณะเด่นประการหนึ่งที่ทำให้คำประพันธ์ เป็นอมตะ ตัวอย่างเช่น บทชมนกของเจ้าฟ้ากุ้งในกาพย์ห่อโคลงนิราศพระบาท ว่า


          นกเหง้าหน้างามลาย
คือดาวรายพรายเพริศเพรา
     ย่อมกินถิ่นลำเนา
พาคู่เคล้าเฝ้าชมกัน
          นกขมิ้นเหลืองหลากหลาย
มีสะพายหมายสองคาง
     เหลืองอร่ามงามปีกหาง
เห็นสำอางช่างมีพรรณฯ

      ๖. ความเปรียบเทียบ ในการบรรยายเรื่องบางประเภทบางครั้งการบรรยายแบบ ตรงไปตรงมา ไม่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจและเกิดความรู้สึกเร้าอารมณ์ได้  จะขอยกตัวอย่าง คำประพันธ์ของนายทองเจือ  สตะเวทิน  ที่เปรียบความโกรธเหมือนกับทะเลดังนี้

                              ความโกรธนั้นมันเหมือนทะเลบ้า
                         คลื่นซัดซ่าสาดโครมโหมถลา
                         ลมกระหน่ำซ้ำคลื่นครืนมา
                         เหมือนอุราพลุ่งโชติเพราะโกรธกัน

     จากหลักการแต่งคำประพันธ์ข้างต้น คงทำให้ผู้เขียนพอมองเห็นแนวทางการแต่งคำ
ประพันธ์อย่างกว้าง ๆ และการที่คำประพันธ์แต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะของตนเอง จึงควรรู้หลักการแต่งคำประพันธ์และลักษณะฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์ประเภทนั้น ๆ ซึ่งในที่นี้จะเสนอให้เห็นเฉพาะที่ควรได้รู้ในระดับเบื้องต้นถึงการแต่งกาพย์ กลอน และโคลง
สี่สุภาพ

การแต่งกาพย์
     คำประพันธ์ร้อยกรองประเภทกาพย์ มีหลายแบบเรียกชื่อต่าง ๆ กันไป ตามลักษณะ คำประพันธ์ที่แตกต่างกัน เช่น กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง กาพย์สุรางคนางค์ กาพย์ขับไม้ เป็นต้น กาพย์นั้นสันนิษฐานว่าเอาแบบมาจากฉันท์ เพียงตัดคำครุ คำลหุออกไปเท่านั้น
     ในที่นี้จะอธิบายเฉพาะกาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ เป็นกาพย์ที่นิยมแต่งกันโดยทั่วไป

กาพย์ยานี ๑๑

แผนผัง


ตัวอย่าง

          ยานีมีลำนำ สัมผัสคำสัมผัสใจ
     วรรคหน้าห้าคำใช้ วรรคหลังนี้มีหกคำฯ

ลักษณะคำประพันธ์
๑. บท บทหนึ่งมี ๔ วรรค


     วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ วรรคที่สองเรียกวรรครับ
     วรรคที่สามเรียกวรรครอง วรรคที่สี่เรียกวรรคส่ง

แบ่งเป็นวรรคแรก ๕ คำ วรรคหลัง ๖ คำ รวม ๑๑ คำ จึงเรียก ยานี ๑๑
๒. สัมผัส
     ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
     คำสุดท้ายของวรรคแรกวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ)   สัมผัสกับคำที่สามของวรรคหลัง วรรคที่สอง (วรรครับ)
     คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง)
(ดูแผนผังและยกตัวอย่าง)
     ถ้าจะแต่งบทต่อไปต้องมีสัมผัสระหว่างบท
     สัมผัสระหว่างบท ของกาพย์ยานี คือ
     คำสุดท้ายของวรรคสี่ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัสที่คำ
สุดท้ายของวรรคสอง (วรรครับ) ดังตัวอย่าง  


          ยานีมีลำนำ สัมผัสคำสัมผัสใจ
     วรรคหน้าห้าคำใช้วรรคหลังนี้มีหกคำ
     หนึ่งบทมีสี่วรรค พึงประจักษ์เป็นหลักจำ
     จังหวะและลำนำ กาพย์ยานีดังนี้เทอญฯ

       คำสุดท้ายของบทต้น คือคำว่า “คำ” ส่งสัมผัสไปยังบทถัดไป บังคับให้รับสัมผัส ที่คำสุดท้ายของวรรคสองหรือวรรครับ ในที่นี้คือคำว่า “จำ”
     ข.   สัมผัสใน แต่ละวรรคของกาพย์ยานีจะแบ่งช่วงจังหวะเป็นดังนี้
          วรรคแรก เป็น สองคำกับสามคำ คือ หนึ่งสอง – หนึ่งสองสาม
          วรรคหลัง เป็น สามคำกับสามคำ คือ หนึ่งสองสาม – หนึ่งสองสาม
     ฉะนั้นสัมผัสในจึงกำหนดได้ตามช่วงจังหวะของแต่ละวรรคนั้นเอง ดังตัวอย่าง
     ยานี – มีลำนำ           สัมผัส คำ – สัมผัสใจ

ข้อสังเกต
     กาพย์ยานีไม่เคร่งสัมผัสใน จะมีหรือไม่มีก็ได้ ขอเพียงใช้คำที่อ่านแล้วราบรื่น ตามช่วงจังหวะของแต่ละวรรคนั้น ๆ เท่านั้น ส่วนสัมผัสนอกระหว่างวรรคที่สาม (วรรคสอง) กับวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) นั้นจะมีหรือไม่มีก็ได้ไม่บังคับเช่นกัน

กาพย์ฉบัง ๑๖
แผนผัง

ตัวอย่าง

          กาพย์นี้มีนามฉบัง สามวรรคระวัง
     จังหวะจะโคนโยนคำฯ

ลักษณะคำประพันธ์
     ๑.   บท บทหนึ่งมี ๓ วรรค อาจเรียกว่าวรรคสดับ วรรครับ วรรคส่ง ก็ได้ แบ่งเป็น
               วรรคแรก (วรรคสดับ) มี ๖ คำ       วรรคที่สอง (วรรครับ) มี ๔ คำ
               วรรคที่ ๓ (วรรคส่ง) มี ๖ คำ
          รวมทั้งหมด ๑๖ คำ จึงเรียกฉบัง ๑๖
     ๒. สัมผัส
          ก.   สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
               คำสุดท้ายของวรรคหนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคสอง
               (วรรครับ)
               สัมผัสระหว่างบท ของกาพย์ฉบัง คือ
               คำสุดท้ายของวรรคสาม (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัส บังคับให้บทต่อไปต้องรับ สัมผัสที่คำสุดท้ายของวรรคหนึ่ง (วรรคสดับ) ดังตัวอย่าง


          กาพย์นี้มีนามฉบัง   สามวรรคระวัง
     จังหวะจะโคนโยนคำ
          สัมผัสจัดบทลำนำกำหนดจดจำ
     หกคำสี่คำดังนี้ฯ

     คำสุดท้ายของบทต้น คือคำว่า “คำ” ส่งสัมผัสไปยังบทถัดไป บังคับให้รีบสัมผัสที่คำ
สุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ) ในที่นี้คือคำว่า “นำ”
     ข. สัมผัสใน แต่ละวรรคของกาพย์ฉบัง แบ่งช่วงจังหวะเป็นวรรคละสองคำ ดังนี้
               หนึ่งสอง – หนึ่งสอง – หนึ่งสอง           หนึ่งสอง – หนึ่งสอง
               หนึ่งสอง – หนึ่งสอง – หนึ่งสอง
               ฉะนั้นสัมผัสในจึงกำหนดได้ตามช่วงจังหวะของแต่ละวรรคนั้นเอง ดังตัวอย่าง
               กาพย์นี้ – มีนาม – ฉบัง                 สามวรรค – ระวัง
               จังหวะ – จะ โคน – โยนคำ
ข้อสังเกต
     กาพย์ฉบังไม่เคร่งสัมผัสใน จะมีหรือไม่มีก็ได้ ขอเพียงใช้คำที่อ่านแล้วราบรื่น ตามช่วงจังหวะของแต่ละวรรคนั้น ๆ เท่านั้น
     ส่วนสัมผัสนอก ระหว่างวรรคที่สอง (วรรครับ) กับวรรคที่สาม (วรรคส่ง) นั้น จะมีหรือไม่มี
ก็ได้ไม่บังคับเช่นกัน

กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
แผนผัง


ตัวอย่าง

สุรางคนางค์
          เจ็ดวรรคจัดวางวรรคหนึ่งสี่คำ
          สัมผัสชัดเจนเป็นบทลำนำ
          กำหนดจดจำรู้ร่ำรู้เรียนฯ

ลักษณะคำประพันธ์
     ๑. บท บทหนึ่งมี ๗ วรรคขึ้นต้นด้วยวรรครับ ต่อด้วยวรรครอง และวรรคส่ง แล้วขึ้นต้น ด้วยวรรคสดับ – รับ – รอง – ส่ง ตามลำดับ รวม ๗ วรรค เป็น ๑ บท
     แต่ละวรรคมี ๔ คำ ๑ บทมี ๗ วรรค รวม ๒๘ คำ จึงเรียกว่า  กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
     ๒. สัมผัส
          ก.   สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
               คำสุดท้ายของวรรคต้น (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคถัดไป คือวรรครอง
               คำสุดท้ายของวรรคที่สามคือวรรคส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ห้า
               (วรรครับ)
               คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำที่หนึ่งหรือสองของวรรคที่ห้า
               (วรรครับ)
               และคำสุดท้ายของวรรคที่ห้า (วรรครับ) ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่หก
               (วรรครอง)
               สัมผัสระหว่างบท ของกาพย์สุรางคนางค์ คือ
               คำสุดท้ายของวรรคที่ ๗ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไป ต้องรับสัมผัสที่คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ (วรรคส่ง)

ดังตัวอย่าง


สุรางคนางค์
     เจ็ดวรรคจัดวาง วรรคหนึ่งสี่คำ
     สัมผัสชัดเจน เป็นบทลำนำ
     กำหนดจดจำรู้ร่ำรู้เรียน
รู้คิดรู้อ่าน
     รู้ประสบการณ์ รู้งานอ่านเขียน
     รู้ทุกข์รู้ยาก รู้พากรู้เพียร
     ประดุจดวงเทียน ประดับปัญญาฯ

     คำสุดท้ายของบทต้นคือคำว่า “เรียน” เป็นคำสัมผัสบังคับให้บทถัดไปต้องรับสัมผัส ที่วรรคสามด้วยคำว่า “เขียน” ตามตัวอย่าง
          ข. สัมผัสใน แต่ละวรรคของกาพย์สุรางคนางค์ แบ่งช่วงจังหวะเป็นวรรคละสองคำ ดังนี้
                                           หนึ่งสอง – หนึ่งสอง
             หนึ่งสอง – หนึ่งสอง           หนึ่งสอง – หนึ่งสอง ฯลฯ
     ฉะนั้นสัมผัสในจึงกำหนดได้ตามช่วงจังหวะของแต่ละวรรคนั้นเอง ดังตัวอย่าง


สุรางคนางค์
          เจ็ดวรรคจัดวาง วรรคหนึ่งสี่คำ
          สัมผัส - ชัดเจน เป็นบท - ลำนำ
          กำหนด - จดจำ รู้ร่ำ - รู้เรียนฯ

ข้อสังเกต
     กาพย์สุรางคนางค์ไม่เคร่งสัมผัสใน จะมีหรือไม่มีก็ได้ ขอเพียงใช้คำที่อ่านแล้วราบรื่น
ตามช่วงจังหวะของแต่ละวรรคนั้น ๆ เท่านั้น
     ส่วนสัมผัสนอกระหว่างวรรคที่สองกับที่สามและวรรคที่หกกับวรรคที่เจ็ด จะมีหรือไม่มี
ก็ได้ไม่บังคับเช่นกัน

การแต่งกลอน
     คำประพันธ์ร้อยกรองประเภทกลอน มีหลายแบบเรียกชื่อต่าง ๆ กันไป ตามลักษณะ
ฉันทลักษณ์ที่แตกต่างกันนั้น ๆ เช่น กลอนสี่ กลอนหก กลอนแปด และยังจำแนกออกไปตาม
ลีลาที่นำไปใช้ เช่น กลอนเพลงยาว กลอนบทละคร กลอนเสภา รวมถึงกลอนบทต่าง ๆ อีกด้วย
     ในที่นี้จะอธิบายเฉพาะกลอนหกและกลอนแปด อันเป็นกลอนที่นิยมแต่งกันโดยทั่วไป

กลอนหก
แผนผัง


ตัวอย่าง

          กลอนหกหกคำร่ำรู้ วางคู่วางคำน้ำเสียง
          ไพเราะเรื่อยร่ำจำเรียงสำเนียงสูงต่ำคำกลอนฯ

ลักษณะคำประพันธ์
     ๑.  บท บทหนึ่งมี ๔ วรรค
          วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ           วรรคที่สองเรียกวรรครับ
          วรรคที่สามเรียกวรรครอง            วรรคที่สี่เรียกวรรคส่ง
          แต่ละวรรคมี ๖ คำ จึงเรียกว่า กลอนหก
     ๒. เสียงคำ กลอนทุกประเภทจะกำหนดเสียงคำท้ายวรรคเป็นสำคัญ กำหนดได้ ดังนี้


          คำท้ายวรรคสดับ กำหนดให้ใช้ได้ทุกเสียง
          คำท้ายวรรครับกำหนดห้ามใช้เสียงสามัญกับตรี
          คำท้ายวรรครองกำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี
          คำท้ายวรรคส่ง กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี

     ๓.  สัมผัส
          ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
          คำสุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครับ)
          คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง)
          และคำที่สองหรือที่สี่ของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง)
         สัมผัสระหว่างบท ของกลอนทุกประเภท คือ
          คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัส
ที่คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ)

ตัวอย่าง


          กลอนหกหกคำร่ำรู้
วางคู่วางคำน้ำเสียง
     ไพเราะเรื่อยร่ำจำเรียง ๆ
สำเนียงสูงต่ำคำกลอน
     เรียงร้อยถ้อยคำสัมผัส
จำรัสจำหลักอักษร
     ทุกวรรคทุกบททุกตอน
คือถ้อยสุนทรกลอนกานท์ ฯ

     คำสุดท้ายของบทต้นคือคำว่า “กลอน” เป็นคำส่งสัมผัส บังคับให้บทถัดไปต้องรับสัมผัส ที่คำสุดท้ายของวรรคสองด้วยคำว่า “-ษร” ตามตัวอย่างนั้น
     ข.   สัมผัสใน แต่ละวรรคของกลอนหก แบ่งช่วงจังหวะเป็นวรรคละสองคำดังนี้
          หนึ่งสอง – หนึ่งสอง – หนึ่งสอง
     ฉะนั้นสัมผัสในจึงกำหนดได้ตามช่วงจังหวะในแต่ละวรรคนั่นเอง ดังตัวอย่าง
          เรียงร้อย – ถ้อย คำ – สัมผัส

ข้อสังเกต
     กลอนหกไม่เคร่งสัมผัสในวรรคมากนัก อาจย้ายที่สัมผัสจากคำที่สองไปคำที่สี่ได้ หรือ
จะไม่มีสัมผัสสระเลย ใช้การเล่นคำตามช่วงจังหวะก็ได้ดังกลอนตัวอย่าง เช่น
ทุกวรรค – ทุกบท – ทุกตอน

กลอนแปด
แผนผัง
 
                  



ตัวอย่าง

          อันกลอนแปดแปดคำประจำวรรควางเป็นหลักอักษรสุนทรศรี
     ส่งท้ายวรรคสูงต่ำจำจงดี สัมผัสมีนอกในไพเราะรู้ ฯ

ลักษณะคำประพันธ์

     ๑.  บท บทหนึ่งมี ๔ วรรค
          วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ      วรรคที่สองเรียกวรรครับ
          วรรคที่สามเรียกวรรครอง       วรรคที่สี่เรียกวรรคส่ง
แต่ละวรรคมีแปดคำ จึงเรียกว่า กลอนแปด

     ๒.  เสียงคำ กลอนทุกประเภทจะกำหนดเสียงคำท้ายวรรคเป็นสำคัญ กำหนดได้ ดังนี้


          คำท้ายวรรคสดับ กำหนดให้ใช้ได้ทุกเสียง
          คำท้ายวรรครับ กำหนดห้ามใช้เสียงสามัญกับตรี
          คำท้ายวรรครอง กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี
          คำท้ายวรรคส่งกำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี

     ๓. สัมผัส
          ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
               คำสุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำที่สามหรือที่ห้า ของวรรคที่สอง (วรรครับ)
               คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง) และคำที่สามหรือที่ห้าของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง)

สัมผัสระหว่างบท ของกลอนแปด คือ
     คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัส ที่คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ)

ตัวอย่าง


          อันกลอนแปดแปดคำประจำวรรควางเป็นหลักอักษรสุนทรศรี
     เสียงท้ายวรรคสูงต่ำจำจงดี สัมผัสมีนอกในไพเราะรู้
          จัดจังหวะจะโคนให้ยลแยบถือเป็นแบบอย่างกลอนสุนทรภู่
     อ่านเขียนคล่องท่องจำตามแบบครู ได้เชิดชูบูชาภาษาไทย ฯ

     คำสุดท้ายของบทต้นในที่นี้คือว่า “รู้” เป็นคำส่งสัมผัส บังคับให้บทถัดไปต้องรับสัมผัส
ที่คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) ในที่นี้คือคำว่า “ภู่”
          ข.   สัมผัสใน แต่ละวรรคของกลอนแปด แบ่งช่วงจังหวะออกเป็นสามช่วง ดังนี้
                    หนึ่งสองสาม – หนึ่งสอง – หนึ่งสองสาม
               ฉะนั้นสัมผัสในจึงกำหนดได้ตามช่วงจังหวะในแต่ละวรรคนั่นเอง ดังตัวอย่าง
                    อันกลอนแปด – แปด คำ – ประจำวรรค
                    วางเป็นหลัก – อัก ษร – สุนทรศรี

ข้อสังเกต
     กลอนทุกประเภทบังคับเสียงคำท้ายวรรคเป็นสำคัญ สัมผัสนอกระหว่างวรรค เฉพาะวรรค
ที่สอง (วรรครับ) และวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) นั้น จะรับสัมผัสที่คำที่สามหรือคำที่ห้าย่อมได้เสมอ
     ส่วนสัมผัสในนั้นจะใช้สัมผัสสระหรืออักษรก็ได้ และสัมผัสสระจะใช้สระเสียงสั้นสัมผัสกับ
สระเสียงยาวก็ได้ เช่น
     “อ่านเขียนคล่องท่องจำตามแบบครู”

การแต่งโคลงสี่สุภาพ
     คำประพันธ์ร้อยกรองประเภทโคลงมีหลายแบบเรียกชื่อต่าง ๆ กันไปตามแบบฉันทลักษณ์ ที่แตกต่างกันแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ได้แก่ โครงดั้น และโคลงสุภาพ
     ในที่นี้จะอธิบายเฉพาะโคลงสี่สุภาพอันเป็นโคลงหลักที่นิยมแต่งกันอย่างแพร่หลายทั่วไป

แผนผัง
                 
ตัวอย่าง


          เสียงลือเสียงเล่าอ้างอันใด พี่เอย
     เสียงย่อมยอยศใคร ทั่ว หล้า
     สองเขือพี่หลับไหลลืมตื่น ฤาพี่
     สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ

                                                                             (ลิลิตพระลอ)
ลักษณะคำประพันธ์
     ๑. บท บทหนึ่งมี ๔ บาท (หนึ่งบรรทัดคือหนึ่งบาท) แต่ละบาทแยกเป็น ๒ วรรค เรียก
วรรคหน้ากับวรรคหลัง แบ่งเป็นวรรคหน้า ๕ คำ วรรคหลัง ๒ คำ เฉพาะบาทที่ ๔ หรือบาท
สุดท้ายกำหนดให้วรรคหลังมี ๔ คำ
     ๒. คำสร้อย เฉพาะบาท ๑ กับบาท ๓ อนุญาตให้มีคำเพิ่มต่อท้ายวรรคหลังได้ อีกบาท
ละ ๒ คำ เรียก คำสร้อย หรือสร้อยคำ นิยมให้ลงท้ายด้วยคำดังนี้ เฮย แฮ ฮา รา ฤา นา นอ พ่อ แม่ พี่ เอย ฯลฯ
     ๓. เอก – โท คือ คำกำหนดบังคับเสียง อันเป็นลักษณะพิเศษของโคลง
          คำเอก คือ คำที่กำกับด้วยรูปวรรคยุกต์เอก เช่น แก่ ค่า ใส เฉพาะคำเอกนี้ในโคลง
อนุญาตให้ใช้คำตายแทนได้ คำตาย คือ คำที่สะกดในแม่ กก กด กบ เช่น ปิด ฉาก นัด พบ
สวัสดิ์ ศิริ
          คำโท คือ คำที่กำกับด้วยรูปวรรณยุกต์โท เช่น ร้อง ไห้ ไม้ ล้ม ต้ม ข้าว
          โคลงสี่สุภาพ กำหนดบังคับให้แต่ละบทต้องใช้คำเอก-โท (ดูแผนผัง)
     ๔. สัมผัส
          ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างบท อันเป็นสัมผัสบังคับ คำสุดท้ายของบาทหนึ่ง
คือ คำที่ ๗ ส่งสัมผัสไปรับสัมผัสกับคำที่ ๕ ของบาทสองกับบาทสาม (ดูแผนผัง) คำสุดท้าย
ของบาทสอง คือ คำที่ ๗ ส่งสัมผัสไปรับกับคำที่ ๕ ของบาทสี่ (ซึ่งตกในที่บังคับคำโทจึงต้อง
ส่ง-รับด้วยคำโททั้งคู่)
          ข. สัมผัสระหว่างบท โคลงสี่สุภาพไม่เคร่งสัมผัสระหว่างบท จะมีหรือไม่มีก็ได้ หากจะมีกำหนดให้คำสุดท้ายของบทคือคำที่ ๗ ของบาทสี่ ส่ง-รับสัมผัสไปยังคำที่ ๑ หรือ ๒
หรือ ๓ ของบาทหนึ่งในบทถัดไป

ดังตัวอย่าง
                        

     คำท้ายของบทต้นคือ คำว่า “โคลง” รับสัมผัสบทถัดไปในคำที่ ๑ ของบาทหนึ่งด้วยคำว่า
“โยง” เป็นสัมผัสเชื่อมบท
     ในโคลงบทที่สองนี้ คำว่า “วรรคเฮย” ของบาทหนึ่งกับคำว่า “ฉะนี้นา” ของบาทสามคือ
คำสร้อย ที่อนุญาตให้เพิ่มเข้ามาได้เฉพาะสองบาทนี้เท่านั้น

ข้อสังเกต
     โคลงทุกประเภทไม่เคร่งสัมผัสในจะมีหรือไม่มีก็ได้ หากจะมีสัมผัสใน กำหนดให้คำที่ ๒
กับคำที่ ๓ หรือที่ ๔ ของทุกวรรคสัมผัสกันได้ ดังตัวอย่าง
     “กำหนดบทบาทไป”
และระหว่างวรรคแรกกับวรรคหลัง หากเล่นสัมผัสอักษรจะทำให้โคลงไพเราะขึ้น ดังตัวอย่าง
     “กำหนดบทบาทไป เป็นแบบ ฉะนี้นา”


สรุป
     คำประพันธ์ หรือร้อยกรอง คือ การนำถ้อยคำมาเรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามที่บัญญัติ ไว้ในตำราฉันทลักษณ์ อันเป็นตำราที่ว่าด้วยการแต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย ซึ่งแต่ละชนิดมีรูปแบบและวิธีการประพันธ์ที่แตกต่างกัน


หลักการใช้ภาษาไทย

หลักการใช้ภาษาไทย  ธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของภาษาไทย  การใช้ภาษาให้ถูกต้องเหมาะสมกับโอกาสและบุคคล  การแต่งบทประพันธ์ประเภทต่างๆ และอิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
อิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
อิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย สาเหตุที่ทำให้ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย ได้แก่ สภาพทางภูมิศาสตร์ คือการมีอาณาเขตใกล้เคียงกัน ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกัน โดยมีการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ การติดต่อค้าขายระหว่างกันและการรับเอาวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ และความคิดความเชื่อทางศาสนา จึงมีการยืมคำในภาษาต่าง ๆ มาใช้มากมาย เช่น ภาษาเขมร จีน พม่า ชวา มลายู อังกฤษ เป็นต้น.....
                สาเหตุที่ทำให้ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย  ได้แก่  สภาพทางภูมิศาสตร์  คือการมีอาณาเขตใกล้เคียงกัน  ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกัน โดยมีการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ การติดต่อค้าขายระหว่างกันและการรับเอาวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ และความคิดความเชื่อทางศาสนา จึงมีการยืมคำในภาษาต่าง ๆ  มาใช้มากมาย เช่น  ภาษาเขมร จีน พม่า ชวา มลายู อังกฤษ เป็นต้น
คำยืมจากภาษาเขมร   
           ไทยกับเขมรมีความสัมพันธ์กันมานับพันปี ต่างถ่ายทอดวัฒนธรรมและอารยธรรมซึ่งกันและกัน ในสมัยโบราณ  ไทยได้รับเอาอักษรขอมบรรจงและขอมหวัด  มาใช้  ซึ่งไทยถือว่าศักดิ์สิทธิ์  จึงมักมีการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาลงบนแผ่นหิน ใบลาน ใช้ตัวอักษรขอมเขียนคาถาอาคมต่าง ๆ ปรากฏตามพระพิมพ์  เหรียญพระเครื่อง  ตะกรุด  ผ้ายันต์ต่าง ๆ 
คำยืมจากภาษาจีน  
           ไทยกับจีนมีความสัมพันธ์กันทางการทูตและการค้าขายมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยสืบมาจนถึงปัจจุบัน ชาวไทยมาทำมาหากินในประเทศไทย  แต่งงานกับคนไทยจนกลายเป็นพลเมืองไทยเชื้อสายจีนเป็นจำนวนมาก  มีการผสมทางด้านวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ ตลอดมา  คำยืมในภาษาจีนส่วนใหญ่เป็นสำเนียงแต้จิ๋ว   มักเป็นคำเรียกสิ่งของเครื่องใช้ อาหาร พืช ผัก ผลไม้ รวมทั้งคำที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมจีน แต่ไทยนิยมนำคำจากภาษาจีนมาใช้ในภาษาพูด ไม่นิยมใช้ในภาษาเขียน
คำยืมจากภาษาอังกฤษ
            คนในโลกยอมรับภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางและนิยมใช้กันมากที่สุด ไทยเริ่มติดต่อกับชาติตะวันตกที่พูดภาษาอังกฤษมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาโดยทางการค้า เมื่อ พ.ศ. ๒๑๕๕ ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีทูตจากประเทศทางตะวันตกมาเจรจาเรื่องการค้ากับรัฐบาลไทย  พ่อค้าชาวอังกฤษชื่อ  Hunter  เข้ามาค้าขายเป็นคนแรกในกรุงเทพฯ   ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มมีคณะทูตสอนศาสนาเข้ามา และได้นำวิทยาการใหม่ ๆ เช่น  การพิมพ์ การแพทย์ เข้ามาเผยแพร่  คำภาษาอังกฤษจึงเริ่มปรากฏในเอกสารภาษาไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ มากมาย  เช่น ชื่อชนชาติ ชื่อบุคคล ชื่อยศ, บรรดาศักดิ์ ชื่อประเทศ ชื่อเมือง ชื่อศาสนา เป็นต้น ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีคำยืมภาษาอังกฤษปรากฏมากขึ้นในเอกสารประเภทจดหมายเหตุ พระราชหัตถเลขา  พงศาวดาร และคำสามัญ  คำเรียกเครื่องมือเครื่องใช้ เรียกทะเลมหาสมุทรก็มากขึ้นด้วย            สมัยรัชกาลที่ ๕ ภาษาอังกฤษขยายวงกว้างออกไปสู่ประชาชน เพราะมีโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษและวิชาการต่าง ๆ มีศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ พฤกษศาตร์ สัตวศาสตร์เกิดขึ้นมากมายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒  คำยืมภาษาอังกฤษหลั่งไหลเข้ามาในภาษาไทยอย่างกว้างขวาง  เพราะมีนักเรียนไทยไปเรียนศึกษาในประเทศแถบยุโรป และอเมริกา การเดินทางระหว่างประเทศ  การสื่อสาร การติดต่อค้าขาย และการขยายตัวของอุตสาหกรรมการค้าในโลก  ตลอดทั้งการรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกด้านต่าง ๆ เช่น ด้านบันเทิง กีฬา  แฟชั่น การแต่งกาย เป็นไปอย่างรวดเร็ว ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ภาษาอังกฤษเข้ามามีอิทธิพลต่อภาษาไทยเป็นอย่างมาก  เรานำมาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น เรามีคำยืมภาษาอังกฤษทุกรูปแบบ  ทั้งคำทับศัพท์  คำแปลศัพท์ และศัพท์บัญญัติ  การยืมคำภาษอังกฤษมาใช้ในภาษาไทยช่วยเปิดและขยายโลกทัศน์ด้านวิชาการ  เศรษฐกิจ  เทคโนโลยี และวัตถุนิยมแก่คนไทย ทำให้เกิดค่านิยมใหม่ว่า ภาษาอังกฤษเป็นภาษาของผู้มีการศึกษา มีความทันสมัย และอยู่ในสังคมชั้นสูง
คำยืมจากภาษาโปรตุเกส
            ตัวอย่างคำที่ยืมมาจากภาษาโปรตุเกส ได้แก่คำว่า กระดาษ (สันนิษฐานว่าเพี้ยนมากจาก กราตัส”)  กะละแม  กะละมัง (ขนม)ปัง  ปั้นเหน่ง หลา เหรียญ  บาทหลวง  เลหลัง  สบู่
คำยืมจากภาษาเปอร์เชีย
            ตัวอย่างคำที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เชีย เช่น คำว่า กุหลาบ (มาจากคำว่า Gul Gol แปลว่า กุหลาบ,  ดอกไม้ทั่วไปสีแดง  เติม suffix - ab เป็น กุลลาพ  แปลว่า น้ำกุหลาบหรือน้ำดอกไม้เทศ  ไทยนำมาใช้แทนดอกไม้ขนาดย่อม มีกลิ่นหอม  นอกจากนี้ยังมีคำอื่น ๆ  เช่น เกด คาราวาน ชุกชี ตาด เยียรบับ ตรา ตราชู  ฝรั่ง ราชาวดี  ศาลา  สนม  สักหลาด สุหร่าย  องุ่น  
คำยืมจากภาษาอาหรับ
            ตัวอย่างคำที่ยืมมาจากภาษาอาหรับได้แก่  กะลาสี  โกหร่าน (พระคัมภีร์กุรอาน)  ระยำ (การลงโทษโดยใช้ก้อนหินขว้างให้ตายเพราะทำผิดประเพณี  ไทยนำมาใช้ในความหมายว่า  ชั่วช้าเลวทราม)
คำยืมจากภาษาทมิฬ มลายู
        ตัวอย่างคำที่ยืมมาจากภาษาทมิฬได้แก่คำว่า  กะไหล่  กุลี  กานพลู  กำมะหยี่ จงกลนี ตรียัมปวาย ปะวะหล่ำอาจาด  กะละออม   กะหรี่ (แกงแขกชนิดหนึ่ง)   ตัวอย่างคำที่ยืมมาจากภาษามลายู  ได้แก่คำว่า กว้าน พลาย เพลาะ   ฝาละมี   กำมะลอ   สะบ้า   สมิง   กระแจะ   ตวัก  
อิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
๑.   ทำให้คำในภาษาไทยมีหลายพยางค์เนื่องจากการยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้   เช่น
            ภาษาเขมร เช่น เผด็จ  เสวย  กังวล บำเพ็ญ  ถนน
            ภาษาจีน  เช่น  ตะหลิว  ก๋วยเตี๋ยว เล่าเตง เอี้ยมจุ๊น
            ภาษาอังกฤษ เช่น  คลินิก สนุกเกอร์  เนกไท  แคชเชียร์
            ภาษาบาลี-สันสกฤต    เช่น ปรัชญา  กรีฑา   อัคนี  วิทยา   พร  ประเสริฐ
๒.   ทำให้คนไทยมีเสียงควบกล้ำมากขึ้น  เช่น  จันทรา  นิทรา  ทรานซิสเตอร์  เอนทรานซ์  และเพิ่มเสียงควบกล้ำ
ซึ่งไม่มีในภาษาไทย  เช่น  ดรัมเมเยอร์   ดร๊าฟ  เบรก  บรอนซ์  บล็อก ฟรี แฟลช  ฟลอโชว์  ฟลูออรีน
๓.    ทำให้คำไทยมีตัวสะกดมากขึ้น  ปกติคำไทยแท้ ตัวสะกดจะตรงตามมาตรา ซึ่งมีเพียง  8  แม่  แต่คำยืมจาก
ภาษาต่างประเทศจะสะกดไม่ตรงตามมาตรา  ดังตัวอย่าง
                              แม่กก    เช่น    สุข  เมฆ  เช็ค  สมัคร                                แม่กด    เช่น    กฎ  รัฐ  กอล์ฟ  ฤทธิ์  พุทธ                               แม่กน   เช่น     เพ็ญ   เพียร  สูญ  บอล   คุณ  กุศล                                แม่กบ   เช่น     รูป  โลภ กราฟ  กอล์ฟ  
๓.   ทำให้คำในภาษาไทยมีคำศัพท์มากขึ้น  สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม    เช่น
                น้ำ       -     อุทก  วารี  คงคา  สาคร  ธาร  ชล  ชโลธร           ผู้หญิง    -    นงเยาว์ นงคราญ  อิตถี  สตรี  กัลยา  สุดา  สมร  วนิดา
 
ทักษะการพูด
การพูด เป็นวิธีหนึ่งของการสื่อสาร การถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก หรือความต้องการ ด้วยเสียง ภาษา และกิริยาท่าทาง เพื่อให้ผู้รับฟังรับรู้ เข้าใจได้ตรงตามจุดประสงค์ของผู้พูด การสื่อสารจึงจะบรรลุผลได้
การพูด เป็นการสื่อสารด้วยภาษา จากตัวผู้พูดไปยังผู้ฟัง เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของตน รวมทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ความรู้ ความคิดเห็น ก่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันช่วยให้กิจการต่างๆ ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย





ความหมายของการพูด     การพูดเป็นกระบวนการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดความรู้ ความคิด ตลอดจนการแสดงความรู้สึกต่าง ๆ จากผู้พูด ผู้ฟัง โดยใช้ระบบสัญลักษณ์ ทั้งวัจนภาษา
  ประเภทของการพูด
   การพูดอาจแบ่งได้หลายประเภทตามกระบวนการสื่อสารหรือแบ่งตามวิธีการผู้พูดซึ่งแบ่งออกเป็น ๔ ประการ
             ๑. การพูดโดยฉลับพลัน
                เป็นการพูดที่ผู้พูดไม่มีโอกาสรู้ตัวมาก่อนและไม่ได้มีการเตรียมตัวมาก่อนล่วงหน้า ดังนั้น ผู้พูดจะต้องอาศัยประสบการณ์ ความรู้ละปฎิภาณไหวพริบในการแก้ไข
ปํญหาเฉพาะหน้า และนำเสนอเรื่องราวที่จะพูดให้กระชับได้สาระและสอดคล้อง
กับ วัตถุประสงค์ ในการพูดการพูดดังกล่าว  ผู้พูดจะต้องเลือกสรรค์ถ้อยคำ
และภาษาที่ ไพเราะ มีความหมายกินใจประทับใจผู้ฟัง และสามารถสรุปสาระ
สำคัญ ในระยะเวลาอันสั้นเหมาะสม เช่นการพูดอวยพร คู้สมรส การอวยพรวันเกิด
การกล่าวต้อนรับ ผู้มาเยือน  การกล่าวขอบคุณใน โอกาสต่าง ๆ เป็นต้น
          ๒. การพูดโดยการเตรียมการล่วงหน้า
                เป็นการพูดที่พูดที่ผู้พูดรู้ตัวล่วงหน้าว่าจะพูดเรื่องอะไรผู้ฟังเป็นใคร พูดในโอกาสอะไร และใช้เวลามากน้อยเท่าไร ผู้พูดจะต้องเตรียมเนื้อหามา ให้เหมาะสมกับโอกาส และกลุ่มผู้ฟังและที่สำคัญจะต้องตรงกับจุดประสงค์ ของการพูด เช่นการพูดอภิปรายทางวิชาการ การแสดงปาฐกถา การประชุม  การสัมมนา เป็นต้น
           ๓. การพูดแบบท่องจำ
                เป็นการพูดที่ผู้พูดเตรียมตัวมาล่วงหน้าและท่องจำเรื่องราวต่างๆ พูด การพูดประเภทนี้ผู้พูดจะต้องจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้แม่นยำ มีความมั่นใจในการพูด และมีสมาธิในการนำเสนอ เรื่องราวให้เป็นไปตามลำดับขั้นตอน ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะช่วยให้ผู้พูด พูดได้อย่างเป็นธรรมชาติ การพูดแบบท่องจำ แม้นผู้พูดเตรียมตัวมาเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม หากขณะพูดเกิดความรู้สึกตื่นเต้นประหม่าอันเนื่อง มาจากสภาวะแวดล้อมหรือเหตุอื่น ๆ ผู้พูดอาจจะลืม เรื่องราวที่จะพูดในบางตอน ซึ่งจะทำให้การเสนอเรื่องราวนั้น ๆ ไม่สมบรูณ์ได้ เช่น การพูดรายงาน เป็นต้น
         ๔. การพูดโดยอ่านจากต้นฉบับ  
                เป็นการพูดที่มีการเตรียมต้นฉบับมาล่วงหน้า ผู้พูดสามารถอ่านเนื้อหาจากต้นฉบับได้ การพูดโดยการอ่านจากต้นฉบับนั้นผู้พูดควรสบตา กับผู้ฟังเป็นระยะ ๆ ไม่ควรก้มหน้าอ่านเพียง  อย่างเดียว จะทำให้เสียบุคลิก และ ขาดความน่าเชื่อถือ เช่น การกล่าวคำปราศัยหรือสุนทรพจน์ การกล่าว
เปิด-ปิดงาน พิธีการต่าง ๆ การรายงานข่าว เป็น


 มารยาทในการพูด
                การพูดที่ดีไม่ว่าจะเป็นการพูดในโอกาสใด หรือประเภทใด ผู้พูดต้องคำนึงถึงมารยาทในการพูด ซึ่งจะมีส่วนส่งเสริมให้ผู้พูดได้รับการชื่นชมจากผู้ฟัง ซึ่งจะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในการพูด มารยาทที่สำคัญของการพูดสรุป ได้ดังนี้  พูดด้วยวาจาสุภาพ แสดงหน้าตาที่ยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่พูดอวดตนข่มผู้อื่น และยอมรับฟังความคิดของผู้อื่นเป็นสำคัญ ไม่กล่าววาจาเสียดแทง ก้าวร้าวหรือพูดขัดคอบุคคลอื่น ควรใช้วิธีที่สุภาพเมื่อต้องการแสดงความคิดเห็น รักษาอารมณ์ในขณะพูดให้เป็นปกติ ไม่นำเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาพูด หากนำคำกล่าวของบุคคลอื่นมากล่าว ต้องระบุนามหรือแหล่งที่มาเป็นการให้เกียรติบุคคลที่กล่าวถึง หากพูดในขณะที่ผู้อื่นยังพูดไม่จบ ควรกล่าวคำขอโทษ ไม่พูดคุยกันข้ามศีรษะผู้อื่น ใช้ภาษาสุภาพเหมาะสมกับบุคคลและโอกาส พูดตรงประเด็นและได้สาระตรงจุดมุ่งหมายของการพูด แสดงความคิดเห็นได้อย่างตรงประเด็น เหมาะสมกับกาลเทศะและโอกาส รับฟังและเคารพในความคิดเห็นของผู้อื่นอยู่เสมอ ไม่ควรพูดเรื่องส่วนตัว หรือนำเรื่องพาดพิงถึงผู้อื่นมาพูด อาจทำให้ผู้อื่นเกิดการเสียหายได้ หากมีกำหนดระยะเวลาในการพูด ควรรักษาเวลาของตนอย่างเคร่งครัด และไม่ควรพูดแทรกขณะที่ผู้อื่นกำลังพูด
  ลักษณะของผู้พูดที่ดี
          ๑. เป็นผู้มีความรู้เนื้อหาสาระที่จะพูดเป็นอย่างดี
          ๒. เตรียมตัวในการพูดเป็นอย่างดีทุกครั้งในกรณีที่ทราบล่วงหน้า
          ๓. มีความสมารถในการใช้ภาษาสื่อสารกับผู้ฟังทั้งในด้านการอ่านออกเสียงถูกต้องตามอักขรวิธีและ
    การเลือกสรรถ้อยคำที่มีความหมายไพเราะกินใจผู้ฟัง
          แต่งกายสุภาพมีความเชื่อมมั่นในตนเอง
         รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ตลอดจนรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่นเพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนา
   ทักษะการพูดของตนเองให้ดียิ่งขึ้น
         ๖ เป็นผู้มั่นศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ
          มีทัศนคติที่ดีต่อการพูดและให้ความสำคัญต่อการพูดทุกครั้ง  
           
จุดมุ่งหมายของการพูด
        โดยทั่วไปแล้ว การพูดจะมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ ๆ อยู่ 3 ประการ

                1. การพูดเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ
        การพูดเพื่อจุดมุ่งหมายนี้ เราได้ฟังอยู่เป็นประจำไม่ว่าจะเป็นข่าวสารจากวิทยุ โทรทัศน์ หรือจากวงสนทนาในชีวิตประจำวัน มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้ฟังเกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ไม่เคยรู้ ไม่เคยมีประสบการณ์หรือมีความรู้ประสบการณ์บ้าง แต่ก็ยังไม่กระจ่างชัด
        การพูดประเภทนี้ ได้แก่ การรายงาน การพูดแนะนำ การบรรยาย การอธิบายการชี้แจง ดังตัวอย่างหัวข้อเรื่องที่พูดเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เช่น
  • ทำอย่างไรจึงจะเรียนเก่งและประสบความสำเร็จ
  • ภัยแล้ง
  • ทำไมราคาพืชผลทางการเกษตรจึงตกต่ำ
  • งามอย่างไทย
  • สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
2. การพูดเพื่อโน้มน้าวใจ
        การพูดเพื่อโน้มน้าวใจ เป็นการพูดที่มีจุดมุ่งหมายให้ผู้ฟังเชื่อและมีความคิดคล้อยตาม ทำหรือไม่ทำตามที่ผู้พูดต้องการหรือมีเจตนา ฉะนั้น ผู้พูดจะต้องชี้แจง ให้ผู้ฟังเห็นว่า ถ้าไม่เชื่อหรือปฏิบัติตาม ที่ผู้พูดเสนอแล้วจะเกิดโทษ หรือ ผลเสียอย่างไร
        การพูดชนิดนี้จะประสบความสำเร็จได้ดีมากน้อยเพียงไรนั้น ขึ้นอยู่กับตัวผู้พูดเองว่ามีบุคลิกภาพดีไหม มีการใช้ถ้อยคำภาษาที่ง่ายแก่การเข้าใจของกลุ่มผู้ฟังไหม และที่สำคัญ คือผู้พูดจะต้องมีศิลปะและจิตวิทยาในการจูงใจ ผู้ฟังได้เป็นอย่างดี การพูดเพื่อโน้มน้าวใจ จะเห็นตัวอย่างได้จากการพูดเพื่อหาเสียงในการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเพื่อเป็นหัวหน้าชั้น ผู้แทนกลุ่ม หรือองค์การต่างๆ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) หรือการพูดเพื่อรณรงค์ให้ผู้ฟังเลิกบุหรี่ หรือไม่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น การพูดเพื่อให้ช่วยกันประหยัดการใช้น้ำมัน ไฟฟ้า นอกจากนี้การพูด เพื่อโน้มน้าวใจจะนำไปใช้มากในด้านธุรกิจการขาย การโฆษณาเพื่อให้ผู้คนหันมานิยมใช้หรือซื้อสินค้าตุน
ตัวอย่างหัวข้อเรื่องที่พูดโน้มน้าวใจ
  • บริจาคโลหิตช่วยชีวิตมนุษย์
  • มาเลี้ยงลูกด้วยนมมารดากันเถอะ
  • ฟังดนตรีเถอะชื่นใจ
  • ช่วยทำเมืองไทยให้เป็นสีเขียวดีกว่า
  • ออกกำลังกายวันละนิดชีวิตแจ่มใส
  • เหรียญบาทมีความหมายเพื่อเด็กยากไร้ในชนบท
3. การพูดเพื่อความบันเทิง
        การพูดเพื่อจุดมุ่งหมายนี้เป็นการพูดที่มุ่งให้ผู้ฟัง เกิดความเพลิดเพลิน รื่นเริง สนุกสนานผ่อนคลายความตึงเครียด ในขณะเดียวกันก็แทรกเนื้อหาสาระ ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังด้วยผู้พูด จะต้องเป็นบุคคลที่มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสไม่เป็นคนเคร่งเครียดเอาจริงเอาจังเกินไป เพราะสิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อการสร้างบรรยากาศความเป็นกันเองให้เกิดขึ้นได้ ดังจะเห็นได้จากรายการต่างๆ ทางสื่อมวลชน ไม่ว่าจะเป็นวิทยุโทรทัศน์
ตัวอย่างหัวข้อเรื่องที่พูดเพื่อความบันเทิง
  • เราจะได้อะไรจากการฟังเพลงลูกทุ่ง
  • ทำอะไรตามใจคือไทยแท้
  • พูดใครคิดว่าไม่สำคัญ
  • ที่ว่ารัก รักนั้นเป็นฉันใด
   ประเภทของการพูดแสดงความคิดเห็น
          การพูดเพื่อแสดงความคิดเห็นอาจแบ่งได้หลายประเภทตามโอกาสที่ผู้พูดหรือตามลักษณะเนื้อหาของการแสดงความคิดเห็น แต่ในที่นี้ได้แบ่งประเภทของการพูดแสดงความคิดเห็นตามลักษณะเนื้อหาออกเป็น  ประเภท
          . การพูดแสดงความคิดเห็นในเชิงสนับสนุน
          การพูดแสดงความคิดเห็นในลักษณะดังกล่าวเป็นการพูดเพื่อสนับสนุน ความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งผู้พูดอาจจะพิจารณาแล้วแล้วว่า ความคิเห็นที่ตน สนับสนุนมีสาระและประโยชน์ต่อหน่วยงานและส่วนรวม หรือถ้าเป็นการ แสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการจะต้องเป็นความคิดเห็นที่เป็นองค์ความรู้สัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง
ที่กำลัง พูดกันอยู่ ทั้งในระหว่างบุคคลในที่ประชุม เช่น การพูดในที่ประชุม การอภิปราย การแสดงปาฐกถา เป็นต้น

      . การพูดแสดงความคิดเห็นในเชิงขัดแย้ง
           การพูดลักษณะดังกล่าวเป็นการพูดแสดงความคิดเห็นในกรณีที่ มีความคิด ไม่ตรงกันและเสนอความคิดอื่น ๆ ที่ไม่ตรงกับผู้อื่นการพูดแสดงความคิดเห็น ขัดแย้งดังกล่าว ผู้พูดควรระมัดระวังเรื่องการใช้ภาษา และการนำเสนอ ความขัดแย้งควรไปในเชิงสร้างสรรค์ อันจะก่อประโยชน์  ต่อหน่วยงาน หรือสาธารณชน เช่น การสัมมนาเชิงวิชาการ การอภิปราย และการประชุม        
๓. การพูดแสดงความคิดเห็นในเชิงวิจารณ์ เป็นการพูดเพื่อวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง    ซึ่งผู้วิจารณ์อาจจะแสดงความคิดเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยและวิจารณ์ในเชิงสร้างสรรค์ผู้วิจารณ์จะต้องวางตัว
   เป็นกลาง ไม่อคติต่อผู้พูดหรือสิ่งที่เห็น เช่น การแสดงความคิดเห็นต่อหนังสือเพลง ละคร โทรทัศน์ ภาพยนตร์เป็นต้น
        ๔. การพูดแสดงความคิดเห็นเพื่อนำเสนอความคิดใหม่ เป็นการพูดในกรณีที่ไม่เห็นด้วยกับการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น และนำเสนอความคิดเห็นใหม่ของตนที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  เช่น การแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม เป็นต้น